ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« on: October 28, 2016, 09:59:14 AM » |
|
ทิศทางของแรงเสียดทาน
|
|
« Last Edit: October 28, 2016, 10:02:23 AM by ปิยพงษ์ - Head Admin »
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
Aguero
neutrino
Offline
Posts: 46
|
 |
« Reply #1 on: October 28, 2016, 11:35:21 AM » |
|
ทิศทางของแรงเสียดทาน
ขอลองตอบดูนะครับ ขาขึ้น ผมใล้หลักอนุรักษ์พลังงาน v cm กำลังลดลง แสดงว่าความเร็วเชิงมุมกำลังเพิ่มขึ้น แรงเสียดทานควรมีทิศลง ใช่มั้ยครับอาจารย์ ขาลง v cm มากขึ้น ความเร็วเชิงมุมควรลดลง แต่ทีนี้มันเปลี่ยนทิศแล้ว ดังนั้นแรงเสียดทานก็ควรทิศลงเหมือนเดิม ใช่มั้ยครับอาจารย์
|
|
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #2 on: October 28, 2016, 12:31:32 PM » |
|
Aguero ผิดครับ
แรงเสียดทานในกรณีนี้เป็นแรงเสียดทานจลน์หรือแรงเสียดทานสถิต เวลาดูแรงเสียดทานให้ดูที่ผิวที่สัมผัสกัน
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
Aguero
neutrino
Offline
Posts: 46
|
 |
« Reply #3 on: October 28, 2016, 02:12:14 PM » |
|
Aguero ผิดครับ
แรงเสียดทานในกรณีนี้เป็นแรงเสียดทานจลน์หรือแรงเสียดทานสถิต เวลาดูแรงเสียดทานให้ดูที่ผิวที่สัมผัสกัน
ครับ ขอลองอีกนะครับ  ดูเฉพาะที่ผิวสัมผัส มีทิศ v เนื่องจากการหมุน ลงล่าง แรงเสียดทานจึงควรมีทิศขึ้นครับ? กลับกันถ้าขาลง ควรมีทิศลง ถูกมั้ยครับ? แล้วทำไมวิธีแรกของผมผิดครับ หรือว่ากฎอนุรักษ์พลังงานใช้ในกรณีนี้ไม่ได้?
|
|
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #4 on: October 28, 2016, 05:05:33 PM » |
|
^ ผิดครับ
ไม่เกี่ยวกับกฎอนุรักษ์พลังงานเลย
ได้ใช้เงื่อนไขที่โจทย์กำหนดว่าเป็นการกลิ้งโดยไม่ไถลหรือเปล่าครับ
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
Aguero
neutrino
Offline
Posts: 46
|
 |
« Reply #5 on: October 28, 2016, 09:07:35 PM » |
|
^ ผิดครับ
ไม่เกี่ยวกับกฎอนุรักษ์พลังงานเลย
ได้ใช้เงื่อนไขที่โจทย์กำหนดว่าเป็นการกลิ้งโดยไม่ไถลหรือเปล่าครับ
ครับ  ขอลองอีกนะครับ ถ้าผมนะใช้เงื่อนไขกลิ้งไม่ไถล ผมใช้ตรงจุดบนสุดของทรงกลม ได้มั้ยครับ เลยได้ว่าจุดนี้มีความเร็วสุทธิขึ้นบน มีความพยายามเคลื่อนที่สัมพัทธ์ไถลขึ้นไป ดังนั้นแรงเสียดทานควรมีทิศลงมั้ยครับ? ส่วนขาลง ก็ตรงข้ามครับ ควรมีทิศขึ้นครับ?
|
|
|
Logged
|
|
|
|
Kua
neutrino
Offline
Posts: 6
|
 |
« Reply #6 on: October 28, 2016, 11:35:57 PM » |
|
ตอบทิศขึ้นทั้งขาขึ้นและขาลงหรือเปล่าครับ (ข้อ3)
|
|
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #7 on: October 29, 2016, 06:24:12 AM » |
|
ตอบทิศขึ้นทั้งขาขึ้นและขาลงหรือเปล่าครับ (ข้อ3)
ขอคำอธิบายครับ ที่สำคัญคือเหตุผลครับ
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
Kua
neutrino
Offline
Posts: 6
|
 |
« Reply #8 on: October 29, 2016, 08:53:07 PM » |
|
ตอบทิศขึ้นทั้งขาขึ้นและขาลงหรือเปล่าครับ (ข้อ3)
ขอคำอธิบายครับ ที่สำคัญคือเหตุผลครับ ตอนขึ้นวัตถุหมุนในทิศตามทวนเข็ม แต่มันจะค่อยๆหมุนช้าลง ดังนั้นตอนขึ้นจะเกิดโมเมนต์ในทิศตามเข็มจากแรงเสียดทาน(แรงเสียดทานทิศขึ้น) และตอนลงวัตถุจะหมุนตามเข็มเร็วขึ้น ดังนั้นตอนลงจะเกิดโมเมนต์ในทิศตามเข็มจากแรงเสียดทานเช่นกัน(แรงเสียดทานทิศขึ้น)ครับ
|
|
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #9 on: October 29, 2016, 08:55:49 PM » |
|
^ ใช่ครับ ถ้าเราคิดทอร์กรอบจุดศูนย์กลางมวล ทิศทางของแรงเสียดทานต้องเป็นอย่างนั้นครับ
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
Kua
neutrino
Offline
Posts: 6
|
 |
« Reply #10 on: October 30, 2016, 12:27:34 AM » |
|
^ ใช่ครับ ถ้าเราคิดทอร์กรอบจุดศูนย์กลางมวล ทิศทางของแรงเสียดทานต้องเป็นอย่างนั้นครับ
แต่มันกลิ้งแบบไม่ไถลนี่ครับ แล้วทำไมถึงเกิดแรงเสียดทานได้ล่ะครับ?
|
|
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #11 on: October 30, 2016, 07:33:45 AM » |
|
^ ใช่ครับ ถ้าเราคิดทอร์กรอบจุดศูนย์กลางมวล ทิศทางของแรงเสียดทานต้องเป็นอย่างนั้นครับ
แต่มันกลิ้งแบบไม่ไถลนี่ครับ แล้วทำไมถึงเกิดแรงเสียดทานได้ล่ะครับ? นั่นแหละคือประเด็นสำคัญ ถ้ามันกลิ้งแบบไม่ไถลบนพื้นระดับและไม่มีแรงอื่นมาดึงมันในแนวระดับแรงเสียดทานสถิตจะไม่มี ในกรณีกลิ้งโดยไม่ไถลบนพื้นเอียงจะมีส่วนประกอบแรงน้ำหนักพยายามดึงมันให้ไถลลงมาจึงเกิดแรงเสียดทานสถิตต้านการที่จะไถลลง แรงเสียดทานจึงมีทิศทางขึ้นทั้งขาขึ้นและขาลง
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
Kua
neutrino
Offline
Posts: 6
|
 |
« Reply #12 on: October 30, 2016, 11:13:02 AM » |
|
^ ใช่ครับ ถ้าเราคิดทอร์กรอบจุดศูนย์กลางมวล ทิศทางของแรงเสียดทานต้องเป็นอย่างนั้นครับ
แต่มันกลิ้งแบบไม่ไถลนี่ครับ แล้วทำไมถึงเกิดแรงเสียดทานได้ล่ะครับ? นั่นแหละคือประเด็นสำคัญ ถ้ามันกลิ้งแบบไม่ไถลบนพื้นระดับและไม่มีแรงอื่นมาดึงมันในแนวระดับแรงเสียดทานสถิตจะไม่มี ในกรณีกลิ้งโดยไม่ไถลบนพื้นเอียงจะมีส่วนประกอบแรงน้ำหนักพยายามดึงมันให้ไถลลงมาจึงเกิดแรงเสียดทานสถิตต้านการที่จะไถลลง แรงเสียดทานจึงมีทิศทางขึ้นทั้งขาขึ้นและขาลง แล้วทำไมเมื่อมีแรงมากระทำผ่านจุด CM จึงต้องเกิดแรงเสียดทานด้วยล่ะครับ ทั้งๆที่ v ระหว่างจุดที่สัมผัสก็เท่ากับ 0 เพราะเป็นการกลิ้งแบบไม่ไถล
|
|
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #13 on: October 30, 2016, 01:19:03 PM » |
|
... แล้วทำไมเมื่อมีแรงมากระทำผ่านจุด CM จึงต้องเกิดแรงเสียดทานด้วยล่ะครับ ทั้งๆที่ v ระหว่างจุดที่สัมผัสก็เท่ากับ 0 เพราะเป็นการกลิ้งแบบไม่ไถล
มันมีความพยายามทำให้เกิดการไถล นึกถึงกรณีกล่องวางอยู่บนพื้นฝืดก็ได้ ถ้าเราดันกล่องในแนวระดับ (ให้แนวแรงผ่านจุดศูนย์กลางมวลด้วยก็ได้) แต่กล่องอยู่กับที่ (ไม่ไถล) มีแรงเสียดทานสถิตต้านแรงผลักไหม
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
Kua
neutrino
Offline
Posts: 6
|
 |
« Reply #14 on: October 30, 2016, 04:18:49 PM » |
|
... แล้วทำไมเมื่อมีแรงมากระทำผ่านจุด CM จึงต้องเกิดแรงเสียดทานด้วยล่ะครับ ทั้งๆที่ v ระหว่างจุดที่สัมผัสก็เท่ากับ 0 เพราะเป็นการกลิ้งแบบไม่ไถล
มันมีความพยายามทำให้เกิดการไถล นึกถึงกรณีกล่องวางอยู่บนพื้นฝืดก็ได้ ถ้าเราดันกล่องในแนวระดับ (ให้แนวแรงผ่านจุดศูนย์กลางมวลด้วยก็ได้) แต่กล่องอยู่กับที่ (ไม่ไถล) มีแรงเสียดทานสถิตต้านแรงผลักไหม งั้นถ้ามีวัตถุทรงกลมกลิ้งแบบไถลไปด้านขวา แรงเสียดทานจะมีทิศไปด้านซ้าย จนกว่าจะเป็นการกลิ้งแบบไม่ไถล พอเข้าสู่การกลิ้งแบบไม่ไถล ก็จะไม่มีแรงเสียดทานมากระทำ วัตถุก็จะกลิ้งแบบนั้นไปเรื่อยๆตลอดกาลเลยใช่ไหมครับ(สมมติไม่มีแรงอื่นกระทำนอกจากแรงเสียดทาน)
|
|
|
Logged
|
|
|
|
|