คำตอบง่าย ๆ ว่าทำไมจึงมีเครื่องหมายลบตอนหาค่าของทอร์กเป็นดังนี้:
ในการพิจารณาการเคลื่อนที่ใด ๆ เราต้องมีพิกัดบอกตำแหน่งของวัตถุ มีตำแหน่งอ้างอิง ทิศอ้างอิง ในการเคลื่อนที่เชิงเส้นเราต้องมีจุดกำเนิด และทิศอ้างอิง (ทิศไหนแทนด้วยเครื่องหมายบวก) ที่จะบอกพิกัดตำแห่ง
สำหรับกรณีลูกตุ้มนี้ เนื่องจากเราสมมุติว่าการเคลื่อนที่ของลูกตุ้มเป็นแบบหมุนอยู่ในระนาบหนึ่ง เราบอกพิกัดเชิงมุมของลูกตุ้มโดยเลือกใช้มุมที่เส้นตรงจากจุดแขวนไปยังลูกตุ้มทำกับเส้นแนวดิ่งทีเราเลือกเป็นเส้นอ้างอิง ลูกตุ้มหมุนได้สองทาง คือทวนเข็มนาฬิกา และตามเข็มนาฬิกา เราจึงใช้เครื่องหมายบวก-ลบแทนทิศการหมุนได้ โดยทั่วไปเรามักให้ทิศทวนเข็มนาฬิกาเป็นบวก (นี่คล้ายกับการเคลื่อนที่เชิงเส้นที่เรามักให้ทิศทางขวามือแทนด้วยเครื่องหมายบวก)
เวลาที่เราเขียนสมการการเคลื่อนที่ เราควรพิจารณาระบบที่สภาวะใด ๆ ทั่วไป (ไม่ใช่ตอนตั้งต้น หรือตอนที่ระบบอยู่สุดปลาย) และเราควรเลือกพิจารณาระบบตอนที่มีพิกัดเป็นบวก และกำลังเคลื่อนที่ไปทางทิศบวก ในกรณีนี้เราจึงเลือกดูตอนที่ลูกตุ้มอยู่ทางขวามือของเส้นแนวดิ่ง และกำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทวนเข็มนาฬิกา ณ ตำแหน่งนี้ทอร์กรอบจุดแขวนเนื่องจากแรงโน้มถ่วงมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา นี่เป็นทิศตรงข้ามกับทิศบวก ตอนที่เราแทนค่าทอร์กนี้ลงไป เราจึงใส่เครื่องหมายลบเพื่อบอกทิศทาง แล้วตามด้วยขนาดของทอร์ก ในทางขวามือของสมการ เราเขียน

(ไม่ใส่เครื่องหมายเวกเตอร์ในที่นี้ เพราะเรากำลังใช้เครื่องหมายบวกลบแทนทิศ) ลงไปเฉย ๆ เราจึงได้ว่า

นี่แสดงว่าความเร่งเชิงมุม

มีทิศทางเป็นลบ (ตามเข็มนาฬิกา) เป์นพิกัดมุมของลูกตุ้มเป็นบวก (ลูกตุ้มอยู่ทางทิศทวนเข็มนาฬิกาเทียบกับเส้นแนวดิ่ง) และเป็นบวกเมื่อพิกัดมุมเป็นลบ
สำหรับผู้ที่ใช้สมการการเคลื่อนที่ในรูปเวกเตอร์

ก็ทำในทำนองเดียวกันนี้
สมมุติเลือกแกนอ้างอิงให้แกน X ไปทางขวา แกน Y ชี้ขึ้นข้างบน และแกน Z ชี้พุ่งออกมา การเลือกทิศการหมุนที่เป็นบวกเป็นทิศทวนเข็มนาฬิกาสมนัยการการเลือกให้ทิศ Z (ทิศทางพุ่งออกมา) เป็นทิศอ้างอิง พิจารณาลูกตุ้ม ณ ตำแหน่งใด ๆ ทั่วไปที่พิกัดมีค่าเป็นบวก และกำลังหมุนไปทางทิศบวก เมื่อหาทอร์กรอบจุดแขวนเนื่องจากแรงโน้มถ่วง ณ ตำแหน่งนี้ จากการหาผลคูณเวกเตอร์

เราได้ว่าเวกเตอร์นี้มีทิศทางไปทางทิศ -Z (พุ่งเข้า) เราจึงได้ว่า

เมื่อเทียบส่วนประกอบของเวกเตอร์สองข้างของสมการ เราจึงได้ว่า


