รังสีๆหนึ่งตกกระทบกระจกนูน โดยแนวรังสีขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญ อยู่สูงจากแกนมุขสำคัญ 8 cm ถ้ารังสีสะท้อนกระจกทำมุม 120 องศา กับแนวเดิมจงหารัศมีความโค้ง
วิธีที่1ครับ เขียนรูปได้รังสีสะท้อน มุมอีกฝั่ง 60องศาแล้วลากเส้นปกติ(แบ่งครึ่ง)แล้วลากไปตัดแกนมุขสำคัญได้จุดศูนย์กลางของวงกลม แล้วได้ R= 8*2=16cm

วิธีที่2
เราต่อรังสีจากรังสีสะท้อนมาตัดแกนมุขสำคัญ ทำให้ได้จุด f มุมที่ทำกับแกนมุขสำคัญ =60องศา
ใช้ตรีโกณ จะได้ด้านตรงข้ามมุมฉาก : sin60 =8/x :x =16/√3
แล้วใช้ตรีโกณอีกรอบ : cos60 = y/(16/√3) แล้ว นำ y*2 ได้ R= 16/√3 (น่าจะพอนึกภาพออกนะครับ)
ทำไมจากวิธีทำทั้ง2แบบ จึงได้คำตอบไม่เท่ากันครับ แต่ยังไงผมว่าข้อ1นั้นถูกชัวร์ๆครับ หรือเป็นเพราะว่าวิธีที่2 ค่าC=2f เกิดจากการประมาณ(ในการพิสูจน์) ซึ่งได้เงื่อนไขว่าต้องเป็นลำแสง(แทบจะ)ขนานและเป็นโค้งวงกลม

ขอบคุณครับ