อ่านเล่มไหนครับนี่มีแรงเทียม

อ้อ ผมอ่าน University Physics ที่อาจารย์ปิยพงษ์แปล น่ะครับ ในนั้นเขียนประมาณว่า แรงหนีศูนย์กลาง(น่าจะอยู่ในกลุ่มกับแรงเทียม ในค่ายตจว.ที่ผมเคยเข้าเขาพูดไว้นิดหน่อยอะครับ ผมก็ค่อยไม่เข้าใจเหมือนกัน) ไม่เกิดขึ้นสำหรับกรอบอ้างอิงเฉื่อย(แสดงว่าน่าจะมีในCaseอื่นๆ)อยู่ในหน้า 140-141 ครับ ผมเอาปัญหาเกี่ยวกับแรงหนีศูนย์กลางนี้ไปถกเถียงกับเพื่อน เพื่อนผมก็พูดขึ้นมาเกี่ยวกับแรงเทียม

จากเหมือนจะเข้าใจกลับไปงง เหมือนเดิมครับ

ขอให้ท่านพี่ทั้งหลายโปรดชี้แนะด้วย(เหมือนหนังจีน)

ผมว่าผิดนะครับ คือ
ความเร่งของรอกแต่ละตัวมันไม่เท่ากันครับ เพราะรอกมันสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วย ดังนั้น ต้องหาความสัมพันธ์ระหว่างความเร่งครับแล้วค่อยตั้งสมการนิวตัน ทั้งนี้สมการนิวตันต้องใช้ในกรอบเฉื่อยครับ ดังนั้นเมื่อได้ความสัมพันธ์ของความเร่งต้องคิดผลของความเร่งสัมพัทธ์ด้วยเพื่อเอาไปตั้งสมการนิวตันแต่ละอัน แนะนำว่าการให้ความสัมพันธ์ความเร่งให้วิเคราะห์จากความยาวเส้นเชือก เมื่อได้ความยาวเส้นเชือกก็ differentiate เทียบกับเวลาเพื่อหาความสัมพันธ์ของความเร่งครับ ทั้งนี้ ถ้ายังไม่เรียน calculus อาจใช้เป็น การเปลี่ยนแปลงของระยะหารด้วยการเปลี่ยนแปลงเวลา วิเคราะห์ออกมาก็ได้ครับ

ถ้าอ่านโจทย์ให้ดีนะครับ เขาบอกว่าใช้รอกผูกกับวัตถุ A เเละยึดไว้กับลิฟท์
เเปลว่ารอกเเต่ละตัวไม่ได้เคลื่อนที่ครับ (เทียบกับลิฟท์)

ส่วนที่คุณTharit Tk.หาคำตอบไม่เจอคงเป็นเพราะลืมใส่ทิศของตัวเเปลบางตัวลงไปในสมการ
ผมลองหาคำตอบข้อนี้ได้ มวล A มีค่า 39 kgครับ
ผมเห็นเฉลยที่คนตั้งโจทย์เฉลย เขาบอกว่า รอกตัวนี้สมดุล
แล้ว เขาก็หาน้ำหนัก(ปรากฏ)ของตัวรอกได้ mg = W+ma ซึ่งผมงงมากว่า รอกสมดุล ควรจะอยู่ในกฎของ 1 ของนิวตัน ดังนั้นปริมาณ ma มาได้อย่างไร หรือเพราะว่ารอกเคลื่อนที่ด้วยความเร่งเดียวกับลิฟต์จึงมองว่าสมดุลถ้าเช่นนั้นก็ไม่น่าจะใช้กฎนิวตันได้นะครับ เพราะไม่ใช่กรอบอ้างอิงเฉื่อยน่ะครับ