อย่างงี้ครับ ผมลองไปคิดมาครับ คือ กฎของเกาส์โดยหลักๆมันจะใช้หาได้แค่ฟลักซ์สุทธิที่ผ่านผิวปิดที่เราสมมติขึ้นมา ส่วนในกรณีที่มันมีสมมาตรจะช่วยหาสนามไฟฟ้า E ได้ แต่ที่ผมคิดมากฎของเกาส์ต้องหาสนามไฟฟ้าได้เฉพาะสนามไฟฟ้าที่เกิดจากประจุที่อยู่ข้างในผิวปิด สนามไฟฟ้าที่เกิดจากประจุที่อยู่นอกผิวปิดจะหาไม่ได้ด้วยกฎของเกาส์ ซึ่งผมขออธิบายสิ่งที่ผมคิดด้วยตัวอย่างนะครับ(น่าจะเป็นอะไรที่เห็นภาพมากกว่า) สมมติว่าเรามีทรงกลมตันที่เป็นฉนวนสองลูก ลูกหนึ่งรัศมี a อีกลูก รัศมี b โดย b>a ถ้าเราสร้างผิว Gaussian เป็นรูปทรงกลม มีรัศมี a รอบฉนวนทรงกลมรัศมี a โดยจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดศูนย์กลางเดียวกันกับฉนวนทรงกลม รัศมี a แล้วใช้กฎของเกาส์ หาสนามไฟฟ้าที่ระยะห่างจากจุดศูนย์กลางฉนวนทรงกลมเป็นระยะ a เราจะได้สนามไฟฟ้าค่าหนึ่ง ในทีนี้ผมขอเรียกว่า

อีกกรณี เราจะสร้างผิว Gaussian แบบเดียวกับกรณีแรก แต่สร้างในฉนวนทรงกลม รัศมี b แทน เราพบว่าถ้าเราใช้กฎของเกาส์กับกรณีที่สองเพื่อหาค่าสนามไฟฟ้า เราจะได้ค่าสนามเท่ากับ

เช่นกัน นี่บ่งว่าสนามไฟฟ้าที่หาได้โดยกฎของเกาส์นั้น เป็นสนามไฟฟ้าจากประจุข้างในผิว Gaussian เพียงอย่างเดียว ไม่ได้รวมสนามไฟฟ้าที่เกิดจากประจุที่อยู่นอกผิว Gaussian (ประจุที่อยู่ในทรงกลมระหว่าง รัศมี a กับ b) เพราะสนามไฟฟ้าที่เกิดจากประจุในส่วนที่อยู่นอกผิว Gaussian ที่ตำแหน่ง a จากจุดศูนย์กลางทรงกลมอาจจะมีค่าได้
บอกแล้วว่าเข้าใจผิดก็ไม่ฟัง
ตัวอย่างที่เรายกมานั้น แม้ไม่ใช้กฎของเกาส์มันก็ให้ผลเช่นเดียวกันว่าสนามไฟฟ้าภายในเป็นสนามไฟฟ้าจากลูกในเท่านั้น เพราะว่าสนามไฟฟ้าจากลูกนอกมันหักล้างกัน ลองทำโดยใช้กฎของคูลอมบ์ดูก็ได้ เลือกจุด ๆ หนึ่งภายในเปลือกทรงกลมประจุ ลากกรวยเล็ก ๆ ออกไปสองข้างของจุดโดยมีจุดเป็นจุดยอดของกรวยทั้งสอง มุมตันสองข้างจะเท่ากัน หาสนามไฟฟ้าเนื่องจากประจุบนผิวทรงกลมทั้งสองด้าน โดยนิยามของมุมตันและกฎของคูลอมบ์จะพบว่าสนามไฟฟ้าจากสองด้านมีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงกันข้าม
ในการพิสูจน์กฎของเกาส์ให้ทำดังนี้
เลือกผิวปิดใด ๆ พิจารณาฟลักซ์ไฟฟ้าที่ผ่านผิวปิด โดยสนามไฟฟ้าที่แต่ละจุดเป็นสนามไฟฟ้าเนื่องจากทั้งประจุภายในผิวปิดและนอกผิวปิด
โดยใช้หลักการซ้อนทับ สนามไฟฟ้าที่จุดใด ๆ เป็นผลบวกเวกเตอร์ของสนามไฟฟ้าเนื่องจากประจุภายในผิวปิดและประจุภายนอกผิวปิด
ฟลักซ์ทั้งหมดจึงเป็นผลบวกของฟลักซ์เนื่องจากประจุภายในผิวปิดกับฟลักซ์เนื่องจากประจุภายนอกผิวปิด
แต่ฟลักซ์เนื่องจากประจุภายนอกผิวปิดรวมกันเป็นศูนย์ (พิสูจน์มาแล้ว ถ้ายังไม่ได้ทำก็ทำซะ)
และฟลักซ์เนื่องจากประจุภายในผิวปิดมีค่าเท่ากับประจุภายในผิวปิดหารด้วย

(พิสูจน์มาแล้ว ถ้ายังไม่ได้ทำก็ทำซะ)
ดังนั้นฟลักซ์ที่ผ่านผิวปิดทั้งหมดจึงมีค่าเท่ากับประจุภายในผิวปิดหารด้วย
