CanonX
neutrino
Offline
Posts: 191
|
 |
« Reply #15 on: April 16, 2013, 05:33:52 PM » |
|
 ที่โจทย์บอกหมายถึงคร่อมทั้งความเหนี่ยวนำและตัวต้านทานครับ(คร่อมจุด P และ Q ครับ)ทำให้เราบอกได้ว่า  เกิดจากสองส่วนคือความเหนี่ยวนำและความต้านทานมาบวกกันเพราะทั้งคู่ต่ออนุกรมกัน(เทียบเป็นวงจรดังที่ได้กล่าวมาแล้วใน Reply #5) ปล.ที่ผมสงสัยก็คือทำไมถึงเรียกรวมกันได้(Reply #10)  ขอบคุณมากครับ เข้าใจแล้วครับ  ใน reply#10 ผมมึนๆเองครับ 
|
|
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #16 on: April 16, 2013, 06:25:59 PM » |
|
emf ในโจทย์นี้มีสองส่วน ส่วนแรกคือ emf เหนี่ยวนำซึ่งเกิดจากการหมุนของแผ่นจานกลมในสนามแม่เหล็กที่ถูกรบกวนให้เกิดขึ้น ส่วนนี้ทำต้วเหมือนแบตเตอรี่ขับให้มีกระแสไหลในเส้นลวด แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่สอดผ่านขดลวด ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ emf ที่ต้านการเปลี่ยนแปลง L\dfrac{di}{dt} นี่คือ emf ส่วนที่สอง
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #17 on: April 16, 2013, 06:27:48 PM » |
|
 ที่โจทย์บอกหมายถึงคร่อมทั้งความเหนี่ยวนำและตัวต้านทานครับ(คร่อมจุด P และ Q ครับ)ทำให้เราบอกได้ว่า  เกิดจากสองส่วนคือความเหนี่ยวนำและความต้านทานมาบวกกันเพราะทั้งคู่ต่ออนุกรมกัน(เทียบเป็นวงจรดังที่ได้กล่าวมาแล้วใน Reply #5) ปล.ที่ผมสงสัยก็คือทำไมถึงเรียกรวมกันได้(Reply #10)  อย่าสับสนระหว่าง emf และความต่างศักย์
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
CanonX
neutrino
Offline
Posts: 191
|
 |
« Reply #18 on: April 16, 2013, 06:43:28 PM » |
|
... emf ในโจทย์นี้มีสองส่วน ส่วนแรกคือ emf เหนี่ยวนำซึ่งเกิดจากการหมุนของแผ่นจานกลมในสนามแม่เหล็กที่ถูกรบกวนให้เกิดขึ้น ส่วนนี้ทำต้วเหมือนแบตเตอรี่ขับให้มีกระแสไหลในเส้นลวด แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่สอดผ่านขดลวด ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ emf ที่ต้านการเปลี่ยนแปลง  นี่คือ emf ส่วนที่สอง แสดงว่าปกติที่โจทย์ถามถึง emf จะหมายถึง emf ทำนองเดียวกับ emf ส่วนแรกใช่ไหมครับ คือ emf ที่ไม่ใช่การเหนี่ยวนำตัวเอง
|
|
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #19 on: April 16, 2013, 07:01:25 PM » |
|
... emf ในโจทย์นี้มีสองส่วน ส่วนแรกคือ emf เหนี่ยวนำซึ่งเกิดจากการหมุนของแผ่นจานกลมในสนามแม่เหล็กที่ถูกรบกวนให้เกิดขึ้น ส่วนนี้ทำต้วเหมือนแบตเตอรี่ขับให้มีกระแสไหลในเส้นลวด แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่สอดผ่านขดลวด ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ emf ที่ต้านการเปลี่ยนแปลง  นี่คือ emf ส่วนที่สอง แสดงว่าปกติที่โจทย์ถามถึง emf จะหมายถึง emf ทำนองเดียวกับ emf ส่วนแรกใช่ไหมครับ คือ emf ที่ไม่ใช่การเหนี่ยวนำตัวเอง จะไปสนใจทำไมว่าปกติถามอะไร ทำไมไม่ดูว่าแต่ละปัญหาเขาถามถึงอะไร ไม่มีความจำเป็นต้องรู้ว่าปกติคืออะไร แล้วเกิดม้นไม่ปกติขึ้นมาจะทำอย่างไร
|
|
« Last Edit: April 16, 2013, 08:02:23 PM by ปิยพงษ์ - Head Admin »
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
CanonX
neutrino
Offline
Posts: 191
|
 |
« Reply #20 on: April 16, 2013, 07:28:00 PM » |
|
ครับผม 
|
|
|
Logged
|
|
|
|
krirkfah
|
 |
« Reply #21 on: April 16, 2013, 07:31:07 PM » |
|
emf ในโจทย์นี้มีสองส่วน ส่วนแรกคือ emf เหนี่ยวนำซึ่งเกิดจากการหมุนของแผ่นจานกลมในสนามแม่เหล็กที่ถูกรบกวนให้เกิดขึ้น ส่วนนี้ทำต้วเหมือนแบตเตอรี่ขับให้มีกระแสไหลในเส้นลวด แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่สอดผ่านขดลวด ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ emf ที่ต้านการเปลี่ยนแปลง L\dfrac{di}{dt} นี่คือ emf ส่วนที่สอง
การหมุนของแผ่นจานกลมทำให้เกิด induced emf ได้ยังไงหรอครับอาจารย์ในเมื่อสนามแม่เหล็กที่ผ่านจานในตอนแรกก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง พื้นที่ของจานก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ดังนั้นฟลักซ์ก็ไม่น่าเปลี่ยนแปลงหนิครับ  อย่าสับสนระหว่าง emf และความต่างศักย์
ที่อาจารย์บอกนี่ใช่คำพูดที่ว่า คร่อมจุดP กับ Q รึเปล่าครับที่ควรแก้ไขเพราะemfบอกเป็นจุดๆไม่ได้
|
|
« Last Edit: April 16, 2013, 07:39:50 PM by krirkfah »
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #22 on: April 16, 2013, 08:11:17 PM » |
|
emf ในโจทย์นี้มีสองส่วน ส่วนแรกคือ emf เหนี่ยวนำซึ่งเกิดจากการหมุนของแผ่นจานกลมในสนามแม่เหล็กที่ถูกรบกวนให้เกิดขึ้น ส่วนนี้ทำต้วเหมือนแบตเตอรี่ขับให้มีกระแสไหลในเส้นลวด แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่สอดผ่านขดลวด ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ emf ที่ต้านการเปลี่ยนแปลง L\dfrac{di}{dt} นี่คือ emf ส่วนที่สอง
การหมุนของแผ่นจานกลมทำให้เกิด induced emf ได้ยังไงหรอครับอาจารย์ในเมื่อสนามแม่เหล็กที่ผ่านจานในตอนแรกก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง พื้นที่ของจานก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ดังนั้นฟลักซ์ก็ไม่น่าเปลี่ยนแปลงหนิครับ  อย่าสับสนระหว่าง emf และความต่างศักย์
ที่อาจารย์บอกนี่ใช่คำพูดที่ว่า คร่อมจุดP กับ Q รึเปล่าครับที่ควรแก้ไขเพราะemfบอกเป็นจุดๆไม่ได้ 1. ดูเรื่อง homopolar generator หรือ Faraday generator ได้ที่ http://www.phys.hawaii.edu/~varner/PHYS272-Spr10/Lectures/PDF_archive/MH_lect_26.pdf และที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Homopolar_generator 2. emf คร่อมตัวต้านทานมีไหม ??
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
krirkfah
|
 |
« Reply #23 on: April 16, 2013, 08:57:26 PM » |
|
ที่ตัวต้านทานมันน่าจะมีแต่ความต่างศักย์รึเปล่าครับ 
|
|
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #24 on: April 16, 2013, 09:04:41 PM » |
|
ที่ตัวต้านทานมันน่าจะมีแต่ความต่างศักย์รึเปล่าครับ  ใช่
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
krirkfah
|
 |
« Reply #25 on: April 16, 2013, 09:24:45 PM » |
|
คือผมเคยอ่านนิยามของemf เขาบอกคืองานต่อประจุของแรงที่ไม่ใช้แรงทางไฟฟ้า ที่ผมเข้าใจถูกไหมครับ แล้วทำไมemfถึงบอกเป็นจุดๆไม่ได้หละครับในเมื่อจุดนึงก็มีงานต่อประจุนึง
|
|
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #26 on: April 16, 2013, 09:26:09 PM » |
|
คือผมเคยอ่านนิยามของemf เขาบอกคืองานต่อประจุของแรงที่ไม่ใช้แรงทางไฟฟ้า ที่ผมเข้าใจถูกไหมครับ แล้วทำไมemfถึงบอกเป็นจุดๆไม่ได้หละครับในเมื่อจุดนึงก็มีงานต่อประจุนึง
แย่แล้วละน้อง ไหนนิยามงานที่จุด ๆ หนึ่งโดยแรงอะไรก็ได้มาให้ดูหน่อยสิ
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
krirkfah
|
 |
« Reply #27 on: April 16, 2013, 09:27:38 PM » |
|
คือมันจะไม่เป็นฟังก์ชันรึเปล่าครับเลยหางานที่จุดๆหนึ่งไม่ได้ทำไม่ได้ อย่างเก่งก็ได้แค่ประมาณในช่วงสั้นๆ ผมมึนเองโทษทีครับ
|
|
« Last Edit: April 16, 2013, 09:32:27 PM by krirkfah »
|
Logged
|
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #28 on: April 16, 2013, 09:57:14 PM » |
|
นิยามของงานจะต้องบอกว่าเป็นงานโดยแรงอะไร จากจุดไหนไปจุดไหน ตามเส้นทางอะไร (โดยทั่วไปค่างานขึ้นกับเส้นทาง ยกเว้นแรงอนุรักษ์) มัวแต่ไปทำของยาก ๆ นิยามพื้นฐานของง่าย ๆ ไม่แน่นเลย 
|
|
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
krirkfah
|
 |
« Reply #29 on: April 16, 2013, 11:47:29 PM » |
|
ขอบคุณมากครับอาจารย์  แล้วผมสงสัยว่าทำไมต้องเป็นอินทิเกรตวงปิด  ถึงจะท่ากับ  หรอครับ แล้วถ้ากระแสวนสองรอบไอเจ้าปริมาณ  ก็เพิ่มเป็นสองเท่าดังนั้นประจุจะมีพลังงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหรอครับ 
|
|
« Last Edit: April 17, 2013, 12:01:03 AM by krirkfah »
|
Logged
|
|
|
|
|