ผมเรียนเรื่องสมดุลการหมุนที่โรงเรียนมาครับ ครูเค้าสอนว่า
''เมื่อวัตถุมีความเร่ง เราสามารถคิดโมเมนต์เฉพาะรอบจุด C.M. ของวัตถุเท่านั้น''
อย่างเช่นข้อนี้ครับ (ตามรูปที่แนบ) เราต้องคิดโมเมนต์เฉพาะรอบจุด C.M. เท่านั้นเวลาเราคิดรอบจุดอื่นจะให้ค่า F ที่ต่างกัน ในข้อนี้ หากเราคิดรอบจุดที่อยู่ต่ำกว่า C.M. ในแนวดิ่งลงมานิดหน่อย เราจะได้ว่าโมเมนต์ของแรง N รอบจุดC.M. มีค่าเท่าเดิม แต่ระยะจากจุดหมุนไปตั้งฉากกับแนวแรง F ที่เราต้องออกลดลงทำให้แรง F ค่าเปลี่ยนไป(เมื่อค่า N คงที่(เท่ากับน้ำหนักเพราะกล่องยังสมดุลในแนวแกนดิ่ง) โจทย์ต้องการหาค่า F ที่มากที่สุดที่ำให้กล่องไม่ล้มครับและพื้นลื่น) ผมอยากทราบว่ามีเหตุผลอะไรที่สนับสนุนข้อความดังกล่าวครับ ทั้งๆที่จุดอื่นมันก็ไม่มีการหมุน(สมดุลเหมือนกัน)เราก็น่าจะคิดโมเมนต์รอบจุดนั้นได้
