noitulos
neutrino
Offline
Posts: 33
|
 |
« on: August 29, 2012, 11:23:07 PM » |
|
ตามที่ผมเข้าใจคือ การที่เรากระโดดบนพื้น หรือ ตกจากตึกสูง มีแรงที่พื้นทำต่อเราเท่ากันคือ mg แล้วทำไมคนที่ตกจากตึกถึงได้รับบาดเจ็บครับ ??
|
|
|
Logged
|
|
|
|
K.P.
neutrino
Offline
Posts: 96
|
 |
« Reply #1 on: August 30, 2012, 12:34:58 AM » |
|
1)แรงที่กระทำต่อเราไม่ใช่ mg นะครับ (นั่นเป็นในกรณีที่เราอยู่นิ่งบนผิวโลก จะมีแรงปฏิกิริยา N = mg จึงอยู่นิ่ง <mg เป็นแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อมวลm>) 2)สมมติว่าตึกสูงh ความเร็วก่อนถึงพื้นจะเป็น  หลังจากที่คนตกถึงพื้นคนจะมีความเร็วเป็นศูนย์แทบจะทันที  จะเห็นว่า ถ้า  น้อยมากๆ และ v มากๆ(ตึกสูง) แรงกระทำจะยิ่งมาก คนจึงตายครับ
|
|
|
Logged
|
|
|
|
noitulos
neutrino
Offline
Posts: 33
|
 |
« Reply #2 on: August 30, 2012, 01:14:41 AM » |
|
1)แรงที่กระทำต่อเราไม่ใช่ mg นะครับ (นั่นเป็นในกรณีที่เราอยู่นิ่งบนผิวโลก จะมีแรงปฏิกิริยา N = mg จึงอยู่นิ่ง <mg เป็นแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อมวลm>) 2)สมมติว่าตึกสูงh ความเร็วก่อนถึงพื้นจะเป็น  หลังจากที่คนตกถึงพื้นคนจะมีความเร็วเป็นศูนย์แทบจะทันที  จะเห็นว่า ถ้า  น้อยมากๆ และ v มากๆ(ตึกสูง) แรงกระทำจะยิ่งมาก คนจึงตายครับ คือตามที่ผมคิด GMm/R^2 การที่ตึกสูง10เมตร เมื่อเทียบกับรัศมีโลก ไม่ได้ทำให้ความเร่งของวัตถุเปลี่ยนไปเท่าไหร่ ผมเลยประมาณ a=gไป ส่วน F=dP/dt = d(mv)/dt = m dv/dt เอามวลที่ประมาณให้คงที่ออกมา ถ้าผมแทน dv/dt =a F=ma=mg ผมคิดว่าการที่มวลและความเร่งเกือบคงที่นี้ ไม่ได้ทำให้สองสถาณการณ์ต่างกันเลย แนวคิดของผมผิดตรงไหนหรือเปล่าครับ? 
|
|
|
Logged
|
|
|
|
K.P.
neutrino
Offline
Posts: 96
|
 |
« Reply #3 on: August 30, 2012, 07:28:08 AM » |
|
คือ คนไม่ได้ตายเพราะแรงโน้มถ่วงครับ แต่เมื่อตกลงมามีความเร็วเทียบกับพื้น ซึ่งคนทะลุพื้นไปต่อไม่ได้ พื้นจึงออกแรง F ดันให้คนหยุด กระบวนการตรงนี้ เกิดขึ้นเร็วมาก ทำให้แรงที่ทำให้คนเปลี่ยนความเร็วจาก v เป็น 0 มีขนาดโตมาก คนจึงตาย
|
|
|
Logged
|
|
|
|
noitulos
neutrino
Offline
Posts: 33
|
 |
« Reply #4 on: August 31, 2012, 10:08:14 PM » |
|
ใช้หลักหรือทฤษฎีอะไรในการคิดเรื่องนี้บ้างครับ? คนที่ตกลงมาจะไม่กระเด็นขึ้นจากพื้นใช่ไหมครับ? 
|
|
|
Logged
|
|
|
|
mopyi
neutrino
Offline
Posts: 373
|
 |
« Reply #5 on: August 31, 2012, 11:32:30 PM » |
|
ใช้หลักหรือทฤษฎีอะไรในการคิดเรื่องนี้บ้างครับ? คนที่ตกลงมาจะไม่กระเด็นขึ้นจากพื้นใช่ไหมครับ?  ใช้หลักของโมเมนตัมและการดลครับ แต่ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าจะกระเด็นจากพื้นหรือเปล่า เพราะจากสมการของพี่ K.P. เค้าให้ v = 0 m/s ไปเลย แต่ผมคิดว่ามันคงขึ้นอยู่กับตัวคนด้วยแหละครับ อย่างเช่นเวลาเราปล่อยหนังสือหนักๆ กับลูกแก้วเล็กๆจากความสูงเท่ากัน ลูกแก้วจะกระเด้งขึ้นมาสูงกว่าหนังสือครับ 
|
|
|
Logged
|
Hitch your wagon to the star.
|
|
|
K.P.
neutrino
Offline
Posts: 96
|
 |
« Reply #6 on: September 01, 2012, 07:18:37 AM » |
|
ขอเสริมนะครับ
กรณี v=0 คือ คนรับแรงน้อยที่สุดครับ ถ้ากระเด้งขึ้นมานี่ F จะมากกว่า
นอกจากนี้ พลังงานส่วนหนึ่ง ถ้าไม่กระเด้งขึ้น จะถูกใช้ไปกับการเปลี่ยนรูปร่างของวัตถุด้วย (deformation) เช่น เค้ก ตกลงพื้นแล้วมันเละ แต่ไม่กระเด้งขึ้น
|
|
« Last Edit: September 01, 2012, 08:40:41 AM by K.P. »
|
Logged
|
|
|
|
mopyi
neutrino
Offline
Posts: 373
|
 |
« Reply #7 on: September 01, 2012, 11:18:46 AM » |
|
ขอเสริมนะครับ
กรณี v=0 คือ คนรับแรงน้อยที่สุดครับ ถ้ากระเด้งขึ้นมานี่ F จะมากกว่า
นอกจากนี้ พลังงานส่วนหนึ่ง ถ้าไม่กระเด้งขึ้น จะถูกใช้ไปกับการเปลี่ยนรูปร่างของวัตถุด้วย (deformation) เช่น เค้ก ตกลงพื้นแล้วมันเละ แต่ไม่กระเด้งขึ้น
อ่อ ขอบคุณมากครับ  แสดงว่าใช้หลักของพลังงานคิดนั่นเอง โดยงานจากแรงที่พื้นทำจะมีค่าน้อยมาก เพราะระยะตามแนวแรงแทบจะเป็น 0 แต่พลังงานที่เหลือจะเป็นพลังงานจลน์เหมือนเดิมหรือเปลี่ยนเป็นอะไรนั้น คงจะขึ้นอยู่กับชนิดของพื้นและวัตถุครับ
|
|
|
Logged
|
Hitch your wagon to the star.
|
|
|
ปิยพงษ์ - Head Admin
|
 |
« Reply #8 on: September 01, 2012, 03:47:41 PM » |
|
... แสดงว่าใช้หลักของพลังงานคิดนั่นเอง โดยงานจากแรงที่พื้นทำจะมีค่าน้อยมาก เพราะระยะตามแนวแรงแทบจะเป็น 0 ...
จริงหรือ ระยะทางที่แรงทำอาจน้อย แต่ขนาดแรงมีค่ามากกก คูณกันก็ได้ค่ามากได้ ถ้าวัตถุตกลงมาแล้วหยุด งานที่พื้นทำ (เป็นลบ) จะมีขนาดเท่ากับพลังงานจลน์ของวัตถุก่อนกระทบพื้น (บวกด้วยงานโดยแรงโน้มถ่วงในช่วงนั้นซึ่งมีขนาดน้อยมาก เพราะแรงโน้มถ่วงมีขนาดน้อยเทียบกับแรงจากการชน)
|
|
« Last Edit: September 01, 2012, 05:26:36 PM by ปิยพงษ์ - Head Admin »
|
Logged
|
มีน้ำใจ ไม่อวดตัว มั่วไม่ทำ
|
|
|
noitulos
neutrino
Offline
Posts: 33
|
 |
« Reply #9 on: September 01, 2012, 05:06:55 PM » |
|
งานที่พื้นทำต่อคนจะต้องมากกว่าหรือเท่ากับงานจากแรงโน้มถ่วงหรือไม่ครับ? ความเร็วเป็นศูนย์นั้นสามารถเป็นจริงได้หรือเปล่าครับ ผมคิดว่าถ้าความเร็วเป็นศูนย์ วัตถุต้องหยุดนิ่ง ทำให้ระยะทางตามแนวแรงนับจากตกถึงพื้นเป็นศูนย์ ถ้าคิดจากแรงคูณระยะทาง งานที่พื้นทำก็เป็นศูนย์ด้วย ??
|
|
« Last Edit: September 01, 2012, 05:15:32 PM by noitulos »
|
Logged
|
|
|
|
jali
|
 |
« Reply #10 on: September 01, 2012, 05:23:32 PM » |
|
... ผมคิดว่าถ้าความเร็วเป็นศูนย์ วัตถุต้องหยุดนิ่ง ทำให้ระยะทางตามแนวแรงนับจากตกถึงพื้นเป็นศูนย์ ถ้าคิดจากแรงคูณระยะทาง งานที่พื้นทำก็เป็นศูนย์ด้วย ??
ความเร็วเป็น0ไม่ได้บ่งบอกว่าระยะตามแนวแรงเป็น0นะครับ โดยส่วนใหญ่แล้ววัตถุจะยุบหรือไม่ก็พื้นยุบนี่ทำให้งานก็ไม่เป็น0แล้ว
|
|
|
Logged
|
|
|
|
mopyi
neutrino
Offline
Posts: 373
|
 |
« Reply #11 on: September 02, 2012, 06:28:48 PM » |
|
... แสดงว่าใช้หลักของพลังงานคิดนั่นเอง โดยงานจากแรงที่พื้นทำจะมีค่าน้อยมาก เพราะระยะตามแนวแรงแทบจะเป็น 0 ...
จริงหรือ ระยะทางที่แรงทำอาจน้อย แต่ขนาดแรงมีค่ามากกก คูณกันก็ได้ค่ามากได้ ถ้าวัตถุตกลงมาแล้วหยุด งานที่พื้นทำ (เป็นลบ) จะมีขนาดเท่ากับพลังงานจลน์ของวัตถุก่อนกระทบพื้น (บวกด้วยงานโดยแรงโน้มถ่วงในช่วงนั้นซึ่งมีขนาดน้อยมาก เพราะแรงโน้มถ่วงมีขนาดน้อยเทียบกับแรงจากการชน) จริงด้วยครับ ถ้าขนาดมากกกในกรณีตกลงมาจากที่สูงมากก งานก็มีผล แต่ถ้าในกรณีที่มันกระเด้งขึ้นงานก็จะเป็นลบมากกว่าพลังงานจลน์ตอนแรก แสดงว่าพลังงานจลน์ตอนหลังก็มีค่าเป็นลบเหรอครับ  เพราะจากสมการ 
|
|
|
Logged
|
Hitch your wagon to the star.
|
|
|
jali
|
 |
« Reply #12 on: September 02, 2012, 08:45:07 PM » |
|
คิดแบบนี้ครับว่าตอนแรกแรงสวนกับการกระจัด นี่ทำงานติดลบ แล้วต่อมาแรงก็ดันให้วัตถุเด้งขึ้นมา(ถ้ามันเด้งนะครับ)งานตรงนี้เป็นบวก ... จริงด้วยครับ ถ้าขนาดมากกกในกรณีตกลงมาจากที่สูงมากก งานก็มีผล แต่ถ้าในกรณีที่มันกระเด้งขึ้นงานก็จะเป็นลบมากกว่าพลังงานจลน์ตอนแรก แสดงว่าพลังงานจลน์ตอนหลังก็มีค่าเป็นลบเหรอครับ  เพราะจากสมการ  เอาอะไรมาบอกครับว่างานมันลบมากกว่าพลังงานจลน์ตอนแรก
|
|
|
Logged
|
|
|
|
mopyi
neutrino
Offline
Posts: 373
|
 |
« Reply #13 on: September 02, 2012, 09:21:54 PM » |
|
คิดแบบนี้ครับว่าตอนแรกแรงสวนกับการกระจัด นี่ทำงานติดลบ แล้วต่อมาแรงก็ดันให้วัตถุเด้งขึ้นมา(ถ้ามันเด้งนะครับ)งานตรงนี้เป็นบวก ... จริงด้วยครับ ถ้าขนาดมากกกในกรณีตกลงมาจากที่สูงมากก งานก็มีผล แต่ถ้าในกรณีที่มันกระเด้งขึ้นงานก็จะเป็นลบมากกว่าพลังงานจลน์ตอนแรก แสดงว่าพลังงานจลน์ตอนหลังก็มีค่าเป็นลบเหรอครับ  เพราะจากสมการ  เอาอะไรมาบอกครับว่างานมันลบมากกว่าพลังงานจลน์ตอนแรก เข้าใจแล้วครับ มันต้องแยกคิดเป็น 2 ช่วงคือช่วงลงกับช่วงขึ้นสินะครับ ตอนแรกผมไปมั่วเองว่างานมากกว่าเพราะผมไปมองกรณีที่แรงพอดีที่ทำให้วัตถุหยุดนิ่งกับพื้น ถ้ามันกระเด้งมันเลยต้องใช้แรงมากกว่า ก็เลยไปโมเมว่างานมากกว่า แต่ที่จริงตอนขาลงของที่กระเด้งการกระจัดมันน้อยกว่า งานเลยเท่ากันและพอดีที่ทำให้วัตถุหยุดนิ่งชั่วขณะที่พื้น 
|
|
|
Logged
|
Hitch your wagon to the star.
|
|
|
psaipetc
|
 |
« Reply #14 on: September 17, 2012, 12:51:15 PM » |
|
ทดลองเอาถุงพลาสติกขนาดต่างๆใส่น้ำ ปิดถุงให้แน่น แล้วปล่อยจากที่สูงสิครับ เราเปรียบเทียบการเสียหายของถุงพลาสติกกับร่างกายคนได้ 
|
|
|
Logged
|
|
|
|
|