วัสดุแต่ละชนิดมีแนวโน้มที่จะดูดอิเล็กตรอนต่างกัน เมื่อเอาวัสดุสองชนิดมาสัมผัสกันหรือถูกัน จะเกิดการย้ายประจุอิเล็กตรอนระหว่างวัสดุสองชนิดนั้น (ไม่ได้เกิดการสร้างประจุนะ) ไปยังวัสดุที่ชอบอิเล็กตรอนมากกว่า (เพื่อให้ได้ระบบรวมที่มีพลังงานต่ำกว่า) โดยทั่วไปเกิดได้ดีกับวัสดุฉนวนไฟฟ้า เพราะประจุสุทธิที่เกิดจากการย้ายที่จะอยู่บริเวณที่เอามาถูหรือสัมผัสกัน แต่ถ้าเป็นตัวนำไฟฟ้า ประจุที่เกิดขึ้นสามารถกระจายไปทั่วตัวนำ ทำให้เห็นผลน้อย
ลำดับการชอบอิเล็กตรอนของวัสดุต่าง ๆ เป็นดังนี้
เซลลูลอยด์
กำมะถัน
ยาง
ทองแดง ทองเหลือง
อำพัน
ไม้
กระดาษ
สำลี
ผิวหนังคน
ไหม
ขนแมว
ขนแกะ
ผมคน
แก้ว
ขนกระต่าย
แอสเบสตอส
เมื่อเอาวัสดุสองชนิดแตะกัน อิเล็กตรอนมีแนวโน้มจะย้ายไปอยู่กับวัสดุที่ชอบอิเล็กตรอนมากกว่า วัสดุที่เสียอิเล็กตรอนไปจะมีประจุเป็นบวก ส่วนวัสดุที่ได้อิเล็กตรอนสุทธิจะมีประจุเป็นลบ
ไม้บรรทัดพลาสติกใสถูกับเส้นผมจะเกิดไฟฟ้าสถิตได้ดีกว่า แท่งไม้หรือกระดาษกับเส้นผม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Triboelectric_effect และที่
http://www.siliconfareast.com/tribo_series.htm