คือว่าพอมันเริ่มเคลื่อนที่ลงแรงเสียดทานที่สองกรัม มันจะเปลี่ยนทิศ แ้ล้วผมก็งงตรงนี้แหละครับ
แนวคิดของผมก็คือ
ตอนแรกให้แรงตึงเป็น๐เมื่อแตกแรงจะได้ว่าแรงดึงลงทางด้าน๑กรัมมากกว่าแรงดึงลงทางด้าน๒กรัม นี่แสดงว่ามันต้องเกิดการเคลื่อนที่เพราะแรงตึงไม่สามารถทำให้มันสมดุลได้
แรงตึงจึงมีค่าระหว่างสองแรงนี้(แรงดึงลงของสองมวล)
ผลนี้ทำให้ได้ว่ามวล๑กรัมต้องเคลื่อนลงแต่พอได้ว่ามวล๑กรัมลง
มันจะทำให้แรงเสียดทานที่สองกรัมกลับทิศแล้วความเร่งมันจะกลับทิศกับตอนแรกที่มวล๑เคลื่อนลง ผมเลยงง
แรงดึงลงจากมวล 2g มากกว่า 1g ครับ
2 cos 60 > 1 cos 30 ครับ

แล้วไม่คิดแรงเสียดทานด้วยเหรอครับ
ในที่นี้เราต้องมองก่อนครับ ว่า แรงนอกจากแรงเสียดทาน มีทิศไปทางไหน แล้วทิศของแรงเสียดทานจะมีทิศตรงข้ามทิศที่วัตถุพยายามเคลื่อนที่
เราดูนี่
ถ้าเกิด โจทย์กำหนดสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานจลน์มานะ
อย่างแรก เราต้องดูก่อน ว่าถ้าไม่มีแรงเสียดทาน วัตถุจะเคลื่อนอย่างไร
แล้วแรงเสียดทาน จะมีทิศตรงข้ามกับทิศที่ "วัตถุพยายามเคลื่อนที่"
แต่ถ้าเราคำนวณออกมาแล้ว แรงลัพธ์ที่ทำต่อวัตถุมันไปอีกด้านหนึ่ง แสดงว่า แรงเสียดทานจลน์มันมากกว่าแรงลัพธ์
สุดท้าย วัตถุจะหยุด และแรงเสียดทานจลน์เปลี่ยนเป็นแรงเสียดทานสถิตย์ครับ
ค่อยๆลองนึกภาพเหตุการณ์ที่เป็น"ฟิสิกส์ ดู นึกว่า ตอนแรกที่มันหยุดนิ่ง มีแรงอะไรมาทำ ทำให้วัตถุอยากเคลื่อนไปทางไหน แล้วแรงเสียดทานมันมาต้านยังไง