ถามตอบลำบากมากเลย

ลองสรุปคร่าวๆไว้แล้วกันนะครับ คือจากผลของการที่ประจุในตัวนำสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนี่
มันทำให้ในกรณีของ electrostatic (กรณีที่ประจุอยู่นิ่ง) ไม่มีสนามไฟฟ้าแนวขนานกับผิวอยู่ในเนื้อของตัวนำ เพราะถ้ามีประจุก็จะวิ่งไปวิ่งมาอยู่บนผิว แล้วสุดท้ายก็จะวิ่งไปในทิศทางที่ทำให้สนามไฟฟ้าภายในเป็น 0 (ศักย์เท่ากันหมด)
ถ้าเราเอาประจุเล็กๆ หรือ test charge ไปวางไว้ไม่ใกล้ ไม่ไกล แผ่นตัวนำขนาดอนันต์ความหนาน้อยมาก จนประมาณได้ว่าเป็นแผ่นสองมิติ
สมมติให้ระยะห่างจากแผ่นตัวนำถึงประจุเป็น d ก็ได้
ประจุบนผิวตัวนำก็จะกระจายตัวออกมา ในลักษณะที่ทำให้ศักย์ไฟฟ้าบนผิวตัวนำเท่ากันหมด หลังจากเวลาผ่านไปซักพัก (จนเราถือว่าเป็น electrostatic) ซึ่งผลอันนี้ไปตรงกับ การที่เราเอาประจุตรงข้ามขนาดเท่ากัน วางไว้ห่างจาก แผ่นตัวนำเท่ากับ d เหมือนกัน ประจุทดสอบของเรา
ซึ่งมันจะทำให้ ศักย์ที่ผิวเท่ากันหมดจริงๆ (เท่ากับ 0 ด้วย ถ้าหากแผ่นตัวนำต่อสายดินไว้) นอกจากนี้ยังทำให้สนามไฟฟ้าในแนวขนานกับผิวกลายเป็น 0 เหลือแต่ สนามในแนวตั้งฉากกับผิว ( ซึ่งสอดคล้องกับการที่ ประจุกับแผ่นดูดกันพอดี)
อันนี้เป็นแบบเริ่มต้นง่ายๆนะครับ เพราะผมจะไปนอนแล้ว

ถ้าสงสัยอะไรเพิ่มอีกก็พิมพ์ถามมาได้ หรือถ้าจะให้ดีลองไปหาอ่านใน
Introduction to Electromagnetism ของ David J. Griffith ไม่ก็ The Feynman Lectures on Physics เล่มสอง บทที่ 6 นะครับ