ขอบคุณครับน้อง Tangg สงสัยผมคงจำผิดเอง

แต่วิธีแรกประมาณหยาบไปรึเปล่าครับ เพราะเหมือนเราจะได้แรงคงที่มาในทั้งสองเคสซึ่งมันไม่เป็น SHM นะครับ (หรือมันไม่เป็น

)
ตอนแรก ในวิธีแรก ผมลองทำแบบไม่ประมาณดูครับ จะพบว่า พจน์ที่มันมี

มันอยู่ในรูป

ซึ่งก็แทบจะไม่มีค่าเลยครับ ดังนั้น ผมก็เลยทำการประมาณออกมาครับ
ใช่ๆมันก็สมเหตุสมผลดี แต่คำถามแรกของคนถามคือมันจะเคลื่อนที่เป็น SHM รึเปล่าไง เพราะตอนผมยังเด็กๆจำได้ว่าได้คำตอบเป็นแรงคงที่เหมือกัน
(จำได้ว่าออริจินัลมาจากไอโรดอฟ เพราะในโจทย์มันถามแค่แรงในกรณีแรกที่น้องทำมา แต่ไม่ได้ถามการเคลื่อนที่)
เมื่อวานลองมาคิดดูอีกที(ทั้งสองกรณี)...ถ้าแรงมันไม่ขึ้นกับตำแหน่งหรือว่ามีเทอมอื่นที่ไม่ได้ขึ้นกับตำแหน่งบวกเข้ามาด้วยนี่นี่ แปลว่าพอมันกลับมาเข้าที่แล้ว มันก็ยังมีแรงอยู่ปะ
ส่วนเรื่องแรงนี้จะทำdielectric หลุดจากแผ่นนี่ก็คงจะไม่หลุดหรอกเพราะพออีกด้านนึงมันโดนดึงเข้ามาในแผ่นตัวนำมันก็จะมีแรงขนาดเท่านี้ดึงมันกลับไปทางเก่า
แน่นอนว่าในกรณีนี้เราสมมติว่าแรงมันเกิดขึ้นมาทันทีที่แผ่นdielectric โดนสะกิดเข้าไประหว่างแผ่นตัวนำ แต่ในความเป็นจริงตัวนำก็มีความต้านทาน และประจุก็ต้องใช้เวลาในการเรียงตัวใหม่ สิ่งเหล่านี้มีผลกับการเคลื่อนที่ของแผ่นไดอีเล็กทริกรึเปล่า
อีกปัจจัยนึงที่เหมือนจะลืมไปสมัยก่อนคือ เราจะประมาณได้ว่าสนามไฟฟ้าระหว่างตัวเก็บประจุมันคงที่ก็ต่อเมื่อแผ่นตัวเก็บประจุนั้นมันใหญ่มากๆ จนพลังงานของสนามไฟฟ้าตรงที่ประมาณว่าคงที่มันเยอะกว่าตรงขอบมากๆ แต่ในกรณีนี้เราสะกิดแผ่นไดอีเล็กทริกแค่นิดเดียว (น้องเจ้าของกระทู้ใช้คำว่ากระตุ้น) แปลว่าเราสนใจสนามไฟฟ้าที่อยู่ตรงขอบมากกว่ารึเปล่า (ในโจทย์ของไอโรดอฟที่ถามหาแรง ผมจำได้ว่าในรูปของโจทย์ข้อนี้แผ่นdielectric ยื่นเข้าไประหวางแผ่นตัวนำเกือบครึ่งเลยไม่น่ามีปัญญาในการประมาณว่าสนามไฟฟ้าตรงนั้นคงที่)
กลับมาคำถามเดิมครับ ว่าตกลงมันเป็น SHM รึเปล่า แล้วจะแสดงว่ามันเป็น SHM ได้ยังไง
ปล. รู้สึกตัวเองตั้งคำถามโคตรเยอะยังกะจะเอาไปทำโครงงาน
