ขอบคุณมากค่ะอาจารย์
หนูไปอ่านกระทู้เก่า(มาก)กระทู้หนึ่งแล้วไม่เข้าใจค่ะ คือถ้าเราเตะลูกบอล แล้วตอนแรกบอลไถล แรงเสียดทานจะเป็นปรับให้ Vcm=WR เพื่อทำให้บอลกลิ้งโดยไม่ไถล (พอไม่ไถลแล้วแรงเสียดทานจะไม่มีผลต่อการเคลื่อนที่แล้วใช่มั้ยคะ

) ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น หนูเข้าใจว่าจุดที่เริ่มกลิ้งจะเป็นแบบรูปที่2 แต่ว่าการกลิ้งโดยไม่ไถลจะต้องเป็นแบบในรูปที่3ไม่ใช่หรือคะ เลยไม่เข้าใจว่าจากรูปที่2ไปเป็นรูปที่3ได้ยังไง หรือว่ารูปที่2ผิด เพราะจริงๆมันจะต้องหมุนเนื่องจากแรงเรียดทานทำให้เกิดทอร์ก งงมากเลยค่ะ

1. แรงเสียดทานมีทิศต้านการเคลื่อนที่ของจุด CM จะทำให้

มีขนาดน้อยลง
2. ทอร์กเนื่องจากแรงเสียดทานจะทำให้อัตราเร็วเชิงมุม

มีขนาดมากขึ้น
3. ความเร็วของจุดบนวัตถุที่สัมผัสพื้นเป็นผลบวก (เวกเตอร์) ของความเร็วของจุดศูนย์กลางมวล บวกกับความเร็วรอบจุดศูนย์กลางมวล
4. ตราบใดที่ความเร็วในข้อ 3 ไม่เท่ากับศูนย์ วัตถุยังคงไถลบนพื้น แรงเสียดทานยังมีอยู่ ทำให้ข้อ 1, 2, 3 ยังเป็นจริงอยู่
5. ในที่สุด ความเร็วในข้อ 3 เป็นศูนย์ วัตถุจะกลิ้งโดยไม่ไถล
ไม่เห็นมีอะไรน่างง งงง่ะว่าหนูงงตรงไหน
