เท่าที่ผ่านมามีน้องๆมักจะpmมาถามผมว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรดีสำหรับการเข้าค่ายสอวน. ไม่ว่าจะค่าย1หรือ2ก็ตาม ผมเลยตั้งกระทู้นี้เพื่อตอบคำถามทีเดียวจะได้ไม่ต้องตอบซ้ำหลายๆรอบครับ
สำหรับค่ายสอวน.ม.4
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการสอบเข้า1.เงิน 50 บาท(ไม่รู้ว่าเพิ่มหรือยัง)พี่พบว่าเงิน50บาทที่จ่ายไปในการสมัครสอบสอวน.ม.4ตอนพี่อยู่ม.4เป็นการใช้เงินที่คุ้มค่าที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตพี่เลยครับ ถ้าน้องสอบเข้าได้ น้องจะได้รับทุกๆอย่างที่น้องอาจไม่เคยรู้ก็ได้ ทั้งการอบรมเช้าจรดเย็นโดยอาจารย์ผู้มากความรู้และประสบการณ์หลายๆท่านที่เป็นที่ยอมรับของวงการฟิสิกส์ อาหารกลางวันและอาหารว่างฟรีตลอดค่าย เอกสารประกอบการเรียนฟรี และที่สำคัญ ถ้าน้องเข้ารอบไปได้เรื่อยๆๆๆ ค่าย1-->ค่าย2--->สอวนระดับชาติ-->สสวทรอบ2-->สสวทค่าย1-->สสวทค่ายสอง (นี่คือระบบเก่า ส่วนระบบใหม่ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ - -) น้องอาจเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกด้วยเงิน50บาท! (นี่คือเงินที่น้องจ่ายอย่างเป็นทางการนะครับ) ทั้งนี้ที่น้องได้รับสิทธิพิเศษมากมายอย่างนี้ เป็นเพราะมูลนิธิสอวน.ซึ่งเป็นมูลนิธิในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และปัจจุบันมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน ดังนั้นน้องควรทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นนี้ครับ
2.ความรู้แน่นอนที่สุดครับน้องต้องมีความรู้เข้ามาสอบ สำหรับรายละเอียดจะอยู่ในส่วนถัดไป
3.ใจถ้าน้องคิดว่ามาสอบเพื่อลองภูมิ ประลองความสามารถ สอบได้แล้วเอาไปเบ่งที่โน่นที่นั่น อย่ามาครับ เสียเวลา เพราะถ้าน้องไม่ชอบในตัววิชาฟิสิกส์ สักวันหนึ่งน้องก็ตกค่ายแน่ครับไม่ช้าก็เร็ว เพราะน้องจะเบื่อแล้วก็ละความพยายามในที่สุด

สำหรับน้องที่ไม่ได้เรียนดีเลิศหรือชนะการแข่งในที่ต่างๆแต่สนใจในตัววิชาฟิสิกส์และพร้อมจะพยายาม ก็สมัครเถอ ะครับ ตอนน้องเดินบนเส้นทางนี้น้องอาจจะเพิ่มระดับความทุ่มเทได้อย่างที่น้องอาจไม่เชื่อตัวเองเลยก็ได้
สำหรับเนื้อหาการสอบเข้าก็อยู่ในข่ายที่ไม่เกินระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และจะไม่เข้าไปในเนื้อหาลึกมาก บางเรื่องไม่ออกข้อสอบ บางเรื่องออกข้อสอบแทบทุกปี
เรื่องที่จำเป็นในการเตรียมตัว (ในความรู้สึกของพี่นะครับ เท่าที่พี่สังเกต ไม่ใช่อย่างเป็นทางการ)
1.พื้นฐานฟิสิกส์
-การวัด ระบบหน่วยSI การแปลงหน่วยพื้นฐาน prefixหน้าหน่วย(มิลลิ เซนติ กิโล ไมโคร ฯลฯ) ล่าสุดมีเรื่องการวิเคราะห์มิติ (Dimension Analysis) ในข้อสอบปีล่าสุด
-ปริมาณทางฟิสิกส์ (สเกลาร์และเวกเตอร์) สำหรับเรื่องเวกเตอร์ควรมีความรูพื้นฐานอย่างการบวกเวกเตอร์ เวกเตอร์องค์ประกอบ เวกเตอร์หน่วย ส่วนเรื่องDot Product และ Cross Product อาจยังไม่จำเป็นมากนักแต่ก็ควรจะรู้ไว้เพราะต้องใช้แน่ๆในค่าย
2.กลศาสตร์
-จลน์ศาสตร์การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง ปริมาณต่างๆ การเคลื่อนที่แบบความเร็ว/ความเร่งคงตัว การตกอย่างเสรีของวัตถุ
-จลน์ศาสตร์การเคลื่อนที่แบบวงกลมในระนาบพื้นฐาน (อัตราเร็วคงตัว/หรืออาจไม่คงตัว) ปริมาณเชิงมุมต่างๆ ทั้งการกระจัดเชิงมุม (ความ/อัตราเร็ว)เชิงมุม ส่วนความเร่งเชิงมุมนั้นพี่ไม่แน่ใจว่าจำเป็นหรือปล่าว แต่มันก็ไม่ได้มีอะไรมากเกินไปกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วเชิงมุม

-จลน์ศาสตร์การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์พื้นฐาน (เท่าที่จำความได้ยังไม่ออกข้อสอบ)
-พลศาสตร์การเคลื่อนที่ กฎของนิวตัน มวล แรง และการเคลื่อนที่ภายใต้แรงชนิดต่างๆ แรงโน้มถ่วง แรงปฏิกิริยาตั้งฉาก แรงเสียดทานสถิต/จลน์ แรงสู่ศูนย์กลางในการเคลื่อนที่วงกลม
-งานจากแรงพื้นฐานต่างๆ ทฤษฎีงาน-พลังงาน (

) พลังงานจลน์จากการเลื่อนที่ พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานศักย์ยืดหยุ่น(สปริง) กำลัง(อัตราการทำงาน)
-กฎการอนุรักษ์พลังงาน (สำคัญมากๆ) และกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
-โมเมนตัม การชนแบบต่างๆ(ยืดหยุ่น/ไม่ยืดหยุ่น) การดล
-ศูนย์กลางมวล(Center of Mass) ของวัตถุ/ระบบอนุภาคพื้นฐาน
-สมดุลของแรง สมดุลการเลื่อนที่ สมดุลการหมุน(สมดุลของโมเมนต์/ทอร์ก)
-กฎความโน้มถ่วงของนิวตัน

(อันนี้พี่ไม่แน่ใจแต่รู้ไว้ก็ดีครับ

)
-การเคลื่อนที่ฮาร์มอนิกอย่างง่ายเช่นมวลติดสปริง เพนดูลัมพื้นฐาน(มวลติดเชือก) ส่วนPhysical Pendulumพี่ว่าอาจยังไม่จำเป็นเพราะต้องใช้สมการ

ซึ่งI หรือโมเมนต์ความเฉื่อย ไปเรียนเอาในค่าย

(แต่ก็อาจจะออกข้อสอบได้วันใดวันหนึ่งนะครับ ผมเองไม่อาจรู้ได้ครับ

)
3.ไฟฟ้า
-ไฟฟ้ากระแสตรง วงจรไฟฟ้าพื้นฐาน กฎของโอห์ม (กฎของKirchhoff ยังไม่จำเป็น) การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม/ขนานและผสม แอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ กัลวานอร์มิเตอร์ (คงไม่มีดิจิตัลมิเตอร์

) แหล่งความต่างศักย์ (EMF) แบตเตอรี่
4.คลื่นและทัศนศาสตร์
-เรื่องของคลื่นพี่ไม่แน่ใจครับ คิดว่าคงเป็นคลื่นพื้นฐาน(คลื่นตามขวาง)อย่าง ความยาวคลื่น ความถี่ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่น (

)
-รังสีแสง การเกิดภาพ กฎการสะท้อน ดัชนีหักเห กฎการหักเห(กฎของสเนลล์

) กระจกระนาบ กระจกโค้งนูน/เว้า เลนส์บางนูน/เว้า ระยะวัตถุ ระยะภาพ ความยาวโฟกัส กำลังขยาย
5.อุณหพลศาสตร์(พื้นฐาน)
-อุณหภูมิ การอ่านค่าเทอร์โมมิเตอร์แบบต่างๆ หน่วยวัดอุณหภูมิต่างๆและการแปลงหน่วย
-ความร้อน

สมดุลความร้อน(แคลอรี่มิทรี)
6.คณิตศาสตร์พื้นฐาน
-การแก้สมการพื้นฐาน ทั้งเชิงเส้นและสมการกำลังสอง
-ตรีโกณมิติพื้นฐาน (sin cosine tangent) ระดับคาดว่าไม่เกินม.4
-เรขาคณิตพื้นฐาน (เอาเป็นว่าไม่เกินม.4)
-สัญกรณ์วิทยาศาสตร์

-กราฟต่างๆ (โดยเฉพาะกราฟเส้นตรง) ความชัน พื้นที่ใต้กราฟ การอ่านกราฟ
7.เรื่องที่ไม่รู้จะจัดไว้ในหัวข้อไหนดี
-ของไหลอย่างง่าย เรื่องของสมดุลอัตราการไหล(อัตราการไหลเข้า=อัตราการไหลออก,

) ความดัน ความดันอากาศ ความดันเกจ (

) สมดุลความดัน
-อื่นๆที่พี่ยังนึกไม่ออก นี่พิมพ์สดๆ เอาไว้จะมาเพิ่มเติมให้ถ้าคิดออกนะครับ

ส่วนเรื่องที่คงไม่ออกข้อสอบ(บางเรื่องไม่ออกแน่ๆ) เอาไว้ไปเรียนในอนาคตข้างหน้าในค่าย (แต่อาจารย์ผู้ออกข้อสอบอาจจะหยิบบางเรื่องที่ไม่ยากเกินมาออกวันใดวันหนึ่งก็ได้นะครับ เพราะข้อสอบมีวิวัฒนาการในทุกๆปี

)
1.คณิตศาสตร์
-แคลคูลัส (อนุพันธ์ ปริพันธ์)ยังไม่จำเป็นสำหรับการสอบเข้าระดับม.4(แต่อาจจำเป็นสำหรับม.5) ย้ำ! ยังไม่จำเป็น แต่! ในค่าย1 เจอแน่นอนครับ รู้มาก่อน ก็ได้เปรียบ

-เอกซ์โปเนนเชียลและลอการิทึม โดยเฉพาะลอการึทึม ยังไม่จำเป็น
-เมตริกซ์ (Matrix) พี่เองเรียนจนมาถึงบัดนี้ แทบไม่ได้ใช้เลยครับ มีใช้บ้างในบางเรื่องที่ต้องแก้สมการโหดๆ
-เรขาคณิตชั้นสูงที่พวกค่ายเลขเรียน ไม่จำเป็นครับ นี่ค่ายฟิสิกส์ ไม่ใช่ค่ายเลขแต่อย่างใด

2.กลศาสตร์
-พลศาสตร์การหมุนของวัตถุมีรูปทรง (วัตถุแข็งเกร็ง)
-กลศาสตร์ของไหล สมการแบร์นูลลี การไหลแบบมีความหนืด อลวล บลาๆๆๆ
3.ไฟฟ้า
-กฎของคูลอมบ์

"อาจ"ยังไม่จำเป็น
-สนามไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า งานจากแรงไฟฟ้า ตัวเก็บประจุ "อาจ"ยังไม่จำเป็น
-กฎของเกาส์
-สนามแม่เหล็ก แรงแม่เหล็ก

,

-กฎของบิโอต์-ซาวาร์ ไม่จำเป็นแน่ๆสำหรับสอบเข้าค่ายนี้
-กฎของแอมแปร์
-ความเหนี่ยวนำ ขดลวดโซลินอยด์
-การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า สมการแมกซ์เวลล์

-วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
4.คลื่นและทิศนศาสตร์
-การรวมคลื่น คลื่นนิ่ง
-การแทรกสอด การเลี้ยวเบน
-คลื่นตามยาว (คลื่นเสียง)
-สมการช่างทำเลนส์อาจยังไม่จำเป็น
5.อุณหพลศาสตร์
-กฎข้อที่1และ2 ของอุณหพลศาสตร์ ไม่จำเป็น
-การนำความร้อนและอัตราการนำความร้อน
-การแผ่รังสีความร้อน กฎของสเตฟาน-โบลต์ซมันน์
-ทฤษฎีจลน์ของแก็ส
-สมการสถานะของแก็สอุดมคติ

"อาจ"ยังไม่จำเป็น
6.ฟิสิกส์ยุคใหม่
-ทฤษฎีสัมพัทธภาพ กลศาสตร์ควอนตัม จักรวาลวิทยา ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ทั้งหมดนี้ เรียนเอาในค่ายนะครับ

คือที่พี่พิมพ์มาทั้งหมดนี้ เปรียบเสมือนข้อคิดเห็น"ส่วนตัว"ของพี่นะครับ น้องไม่จำเป็นต้องเชื่อ เพราะว่าพี่ไม่ใช่ผู้ออกข้อสอบ พี่เพียงแนะแนวทางให้ว่าควรอ่านเรื่องอะไรให้มากๆ เพราะบางคนอาจไปใช้เวลากับเรื่องที่อาจยังไม่ถึงเวลา
มากเกินไป อย่างบางคนไปฝึกแก้สมการอนุพันธ์ตั้งแต่ยังไม่เข้าค่าย เป็นต้น (แต่ถ้าทำเพื่อความสนุกและความมันส์ส่วนบุคคลก็สนับสนุนครับ แต่โดยทั่วไปพื้นฐานต้องมาก่อน

)
ส่วนหนังสือแนะนำและเรื่องอื่นๆ จะอยู่ในโพสต่อไปครับ พี่ขอไปจัดของเข้าค่ายต่อไปก่อนครับ ยังจัดไม่เสร็จเลย

แล้วจะโพสต่อตอนพี่อยู่ที่สสวทครับ