ตามความเข้าใจนะครับ Degree of Freedom ของระบบก็คือจำนวนตัวแปรที่จำเป็นสำหรับการอธิบายระบบนั้นได้อย่างครบถ้วนครับ
อย่างเช่น อนุภาคหนึ่งเคลื่อนที่ในปริภูมิสามมิติ พบว่ามี 6 degrees of freedom นั่นคือ ตำแหน่งของอนุภาคตามพิกัด (x,y,z) และ โมเมนตัมของอนุภาคตามแกนทั้งสาม

แต่ว่านี่เป็นแนวคิดแบบคลาสสิกนะครับ เพราะว่าถ้าเป็นแบบควอนตัม ที่พูดมามันจะแปลกๆเพราะไปขัดแย้งกับหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์กครับที่ว่าเราไม่สามารถระบุตำแหน่งของวัตถุและโมเมนตัมของมันพร้อมกันได้ครับ ต้องมีค่าความไม่แน่นอนมากกว่าค่าๆหนึ่งเสมอ
หมายเหตุ: จากหนังสือฟิสิกส์ระดับอุดมศึกษาของ Young&Freedman เล่ม2 ที่อ.ปิยพงษ์แปลนั้นให้คำแปลภาษาไทยของคำว่า Degree of freedom ว่า "ระดับขั้นความเสรี" ครับ คำว่า Degree นั้นแปลได้หลายความหมายครับ แปลว่าองศา(มุม) องศา(อุณหภูมิ) หรือแปลว่าระดับก็ได้ครับ ในที่นี้ผมคิดว่าคำว่าระดับน่าจะเหมาะสมกว่าเพราะว่าจากที่ดูนิยามของคำนี้ในฟิสิกส์ พบว่ายิ่งถ้า Degree of freedom ของระบบมีค่ามาก มันบ่งว่าระบบนั้นมี "ความเสรี" มาก นั่นแปลว่าเรากำลังระบุ "ระดับขั้นความเสรี" ของระบบนี้อยู่ครับ
