เพราะ e.m.f ไม่ใช่แรงครับ

ถ้ามันไม่ใช่แรง แล้วทำไมเราถึงเรียกมันว่า
แรงเคลื่อนไฟฟ้าล่ะครับ?
เป็นเพราะการตั้งชื่อส่อให้เราเข้าใจผิดครับ
อีเอ็มเอ็ฟ (Electromotive Force: EMF) ถ้าแปลตรงตัวก็แปลว่า "แรงเคลื่อนไฟฟ้า" ซึ่งหลายๆคนคงเข้าใจว่ามันเป็น "แรง" ที่มีหน่วยเป็น "นิวตัน" ซึ่ง
ไม่ใช่ เพราะว่าความจริงแล้วมันคือ "ศักย์ไฟฟ้า" อย่างที่เรามักเรียก แบตเตอรี่ ว่า "แหล่งอีเอ็มเอฟ" ซึ่งมีหน่วยเป็น "โวลต์"
ที่ผมเข้าใจคือ ในสมัยแรกๆที่มีแหล่งกำเนิดที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้ว ซึ่งก่อให้เกิดกระแสไหลในวงจรไฟฟ้านั้น มีการเข้าใจว่า มี"แรง"ที่ทำการขับเคลื่อนประจุไฟฟ้าให้เคลื่อนที่ไปตามวงจร ซึ่งเป็นที่มีของคำว่า "Force" และเป็นแรง ทางไฟฟ้า "Electro-" ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของประจุ "Motive" เลยเรียกรวมว่า "Electromotive Force" แต่ในภายหลังในการคำนวณเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าที่เราใช้กฎของโอห์ม (Ohm's Law) เป็นหลัก ทำให้เราทำความเข้าใจใหม่ว่า "ความต่างศักย์" เป็นตัวต้นตอสำคัญที่ทำให้ประจุเคลื่อนที่ แรงเป็นผลมาเนื่องจากความต่างศักย์ อีกทั้ง กฎของโอห์ม ในรูปที่เรารู้จักกัน
ทั่วไป 
นั้น ความต่างศักย์เป็นบทบาทสำคัญ เมื่อเราต่อแบตเตอรี่ หรือ "แหล่งอีเอ็มเอฟ" เข้าในวงจรปิด เราก็ทำความเข้าใจว่า เราต่อ "แหล่งความต่างศักย์" เข้าไป แต่เนื่องจากว่า คำว่า "อีเอ็มเอฟ" นั้น ถูกใช้มานานจนแพร่หลายแล้ว ทำให้คำว่า "แหล่งอีเอ็มเอฟ" ยังคงใช้อยู่ และใช้แทน "ความต่างศักย์" จึงมีหน่วยเป็น "โวลต์" นั่นเอง
ปล. ที่เขาใช้คำว่า "แหล่งอีเอ็มเอฟ" แทนที่จะเป็น "แหล่งแรงเคลื่อนไฟฟ้า" ก็เพราะว่าเขาไม่อยากให้เราเข้าใจผิดคิดว่ามันมีหน่วยเป็นมิติของแรงนั่นเอง
