ไม่เข้าใจสมการสุดท้ายที่อ้างจากกฏอนุรักษ์พลังงานครับคือผมอยากรู้ว่าทำไมถึงเป็น 3kT (แทนที่จะเป็น 3/2 kT และ 2Rมาได้อย่างไร)
ในกฎของคูลอมบ์ที่ผมเคยเห็นไม่ใช่ตัวนี้ด้วยครับ ที่ผมเคยเห็นคือกฎที่มีค่าkอยู่ด้วย แต่ก็คิดว่าจากที่โจทย์กำหนดให้ใช้ก็คงจะเป็นตัวเดียวกัน เพียงแต่เขียนต่างกันเท่านั้น
ปล.ต้องขอโทษด้วยนะครับที่เขียนสมการที่ผมสงสัยออกมาไม่ได้ เพราะผมไม่รู้วิธีเขียนจริงๆ
และหากพี่เข้าใจข้อไฟฟ้า(ข้อ11.)นั้นก็ช่วยอธิบายด้วยนะครับ ว่าทำไมต้องตอบในรูปของ sin ขอบคุณครับ

ตอบคำถามแรก
คือว่าที่ nklohit ทำนั้นถูกแล้ว เพียงแต่ว่าคุณคงดูไม่ออกเองว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้นเพราะผมคิดว่าคุณคงตาม nklohit ไม่ทัน
จากกฎของคูลอมบ์นั้นทำให้เราทราบว่าพลังงานศักย์ของระบบจุดประจุสองตัว

และ

เขียนได้ว่า

เมื่อ r เป็นระยะห่างระหว่าง"จุด"ประจุ
โดยเนื่องจากว่า ผู้จัดหลักสูตรและการสอนฟิสิกส์นักเรียนม.ปลายนั้น ไม่อยากให้นักเรียนมัธยมปลายธรรมดาเจอสัญลักษณ์แปลกๆจนกลัวฟิสิกส์ เลยสั่งให้

ซึ่งเรียกว่าค่าคงตัวของคูลอมบ์ <---นี่คงเป็นที่คุณพูดถึง
แต่ว่าถ้าคุณสังเกตโจทย์ให้ดีๆ โจทย์ให้พารามิเตอร์

มาให้ซึ่งเรียกว่า สภาพยอมได้ของฟรีสเปซ (permittivity of free space)ซึ่งเป็นค่าคงที่ที่สำคัญมากในเรื่องของไฟฟ้า นั่นคือ

ในโจทย์คงไม่ใช่ ค่าคงที่ของคูลอมบ์ ซะแล้ว
ทีนี้มาพูดถึงเรื่องอุณหพลศาสตร์ ถ้าหากลองไปหาหนังสือเรื่องทฤษฎีจลน์อ่านดูจะรู้ว่า พลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของ"กลุ่ม"ก๊าซนั้น (ซึ่งเราสมมติให้มันมีอัตราเร็วเท่ากันหมดทุกตัวเป็น

) นั้น มีค่าเป็น

เมื่อ N เป็นจำนวนอนุภาคทั้งหมดในระบบ
คงจะสงสัยว่าทำไมถึงมี

โผล่มาอีกแล้ว?
นี่ไม่ใช่ตัวเดียวกับของในกฎของคูลอมบ์! นี่เป็น ค่าคงที่ของโบลต์ซมันน์ หรือที่นักเรียนม.ปลายรู้จักในนามของ

นั่นเอง แต่ในหนังสือเทกซ์บุคบางเล่ม(ส่วนใหญ่)นั้นจะเขียนให้

โดยที่เข้าใจกันว่าเป็นค่าคงที่ของโบลต์ซมันน์
ทีนี้มาเข้าเรื่องของโจทย์ ในโจทย์นั้นเป็นระบบประจุหลายตัวมากมาย แต่เขาให้เราพิจารณาประจุสองตัวที่มีค่าประจุไฟฟ้า

เหมือนกัน วิ่งเข้าหากันและแตะกันพอดี ด้วยความรู้ที่ว่า เราประมาณให้อันตรกิริยากับประจุตัวอื่นนนอกจากสองตัวนี้ละทิ้งได้อย่างที่เราเข้าใจกันดีว่าอะตอมของระบบแก๊สอุดมคตินั้นอยู่ห่างกันมากและประมาณได้ว่าไม่มีแรงกระทำต่อกัน(ม.ปลายทั้งฟิสิกส์และเคมีต้องสอนเรื่องนี้แล้ว) เอาหละทีนี้ ประจุสองตัวนี้ตอนแรกก็อยู่ห่างกันระยะหนึ่งซึ่งไกลจนเราอาจคิดว่าได้พลังงานศักย์ของระบบเริ่มต้นเป็น 0 แต่ว่ามันมีพลังงานจลน์เพราะว่าประจุเคลื่อนที่อยู่ และ
ของแต่ละตัวมีค่าเป็น
แต่ว่ามันมีในระบบสองตัว จึงได้ว่า
พลังงานตอนแรก

แต่ว่า

นั่นคือ
พลังงานตอนแรก

ทีนี้เขาบอกว่า ประจุสองตัวนี้มันวิ่งเข้าหากันจน "แตะกันพอดี" นั่นคือ ประจุสองตัวมันอยู่ห่างกัน

เมื่อ R เป็นรัศมีของตัวประจุแต่ละตัว จึงมีพลังงานศักย์ของระบบในตอนนี้เป็น

อย่างที่ nklohit ทำเอาไว้ และเนื่องจากประจุทั้งคู่อยู่นิ่งตอนนี้ ทำให้พลังงานจลน์ของระบบเป็น 0 ดังนั้น
พลังงานตอนหลัง

แต่เนื่องจากกว่ากระบวนการนี้ไม่สูญเสียพลังงาน นั่นคือพลังงานตอนแรกเท่ากับพลังงานตอนหลัง จึงได้ว่า

ย้ายข้าง ได้คำตอบแบบที่ nklohit ทำไว้
ทีนี้ตอบข้อสอง ที่ว่าทำไมถึงตอบในรูป sin ก็เพราะว่า คำตอบที่ถูกนั้นตอบในรูปของ sin นั่นเอง! จะตอบในรูปของ cos ก็ได้ ถ้าใช้

แล้วแต่สะดวก
ทีนี้ยังสงสัยอะไรอีกหรือปล่าวครับ
