แต่ผมว่ามันไม่น่าจะเป็นอย่างนั้นไม่ใช่หรือครับ คือ ในกรณีที่เป็นสเปสว่างเปล่า คือไม่มีประจุเลย แต่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้น ก็ยังมีพลังงานนี้ได้ ดังนั้นไม่น่าจะเป็นการนำจุดประจุเล็กๆมาวางเรียงกันใช่ไหมครับ
ขอบคุณที่ตอบนะครับ

อันที่จริงอยากจะถามกลับว่าสมการแรกนี่มันต้องมีประจุอย่างน้อยสองก้อนถึงจะคิดได้ใช่มั้ยครับ แต่อันที่สองมีก้อนเดียวก็คิดได้แล้ว ทำไม?
หากเราโยงไปเรื่องที่ไม่ใช่สนามสถิตย์ก็ต้องคุยยาวเลยล่ะครับ
คือเรื่องมันมีอยู่ว่าตอนที่เราหาพลังงานศักย์ของระบบประจุหลายๆก้อนนี่ เราได้รูปแบบที่เป็นผลรวมของพลังงานศักย์ของการนำประจุสองอันมาวางใกล้กันแล้วรวมกันเป็นคู่ๆ มันก็เกิดคำถามว่าถ้าประจุมันต่อเนื่องล่ะจะเป็นอย่างไร แล้วพอเล่นกับคณิตศาสตร์สักพักนึงมันก็โผล่สมการที่สองออกมา เขาเลยตีความว่าสมการที่สองนี่มันแปลว่าอะไร ก็เลยกลับไปดูที่มาจะเห็นว่าที่เราทำมาเป็นพลังงานที่เกิดจากการนำประจุมากองรวมๆกันจนเป็นก้อน ก็แปลว่าพลังงานที่ใช้ในการเรียงประจุเป็นก้อนที่ต่อเนื่องต้องใช้พลังงานซึ่งคำนวณได้จากสมการที่สองซึ่งอยู่ในรูปของสนามไฟฟ้า ก็เลยมีคนตีความว่าพลังงานที่ว่านั่นมันเก็บอยู่ในรูปของสนามไฟฟ้า และการตีความอย่างนี้ก็มีประโยชน์เวลานำไปคิดเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
แล้วคำถามของน้องนั้น สมการแรกเป็นค่าพลังงานศักย์ที่เกิดขึ้นเมื่อนำประจุทรงกลมสองก้อนมาวางใกล้กันแต่ยังไม่นับค่าพลังงานศักย์ที่คิดจากการสร้างประจุทรงกลมนั้นขึ้นมา เราเลยได้ว่าหากมันอยู่ไกลกันค่ามันก็เป็นศูนย์ แต่ในสมการที่สองนั้นได้คิดพลังงานดังกล่าวด้วยมันจึงไม่เป็นศูนย์ครับ ดังนั้นไม่มีอะไรขัดแยังกันครับ

ถ้าสงสัยที่ผมอธิบาย หรือว่าอยากหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองไปอ่านหนังสือแม่เหล็กไฟฟ้าของ D.J.Griffiths ดูครับในเรื่องไฟฟ้าสถิตย์บทไหนสักบทผมจำไม่ได้เหมือนกัน
