ถ้าผมยังอยู่ม.3 ก็ดีสิครับ

ตอนนี้อยู่ม.5 แล้ว (แก่แล้ว แต่ก็ยังเด็กกว่า sg24979

)
เหอๆ มันเกี่ยวไรกับพี่นี่ แก่กว่านิดหน่อยเอง
เอาล่ะ มาเสริมต่อจากของพี่ampan และน้อง G นิดหน่อย
เราควรแบ่งขั้นตอนในการศึกษาออกเป็นสัก 3 ช่วงน่าจะดี (สำหรับบางคนอาจจะไม่มีช่วงแรกแล้วก็ได้ในตอนนี้ แต่เชื่อเถอะทุกคนเริ่มจากช่วงแรกทั้งนั้น) คือ เริ่มต้น กลายมาเป็นรู้เรื่องแล้ว จนกระทั่งถ่องแท้
เริ่มต้น : ผมถือว่าเป็นการเริ่มจริงๆ คือยังไม่รู้ว่าควรจะอ่านอะไรดี และความรู้เท่าที่มีอยู่ รวมไปถึงระบบการคิดก็ยังไม่ดีพอที่จะอ่านได้อย่างที่คนที่ดูจะเก่งหลายๆคนอ่านกัน กล่าวคือเห็นบางคนอ่าน text อยากอ่านบ้าง น่าจะอ่านแล้วเก่ง แต่พอไปอ่านกลับไม่รู้เรื่อง (ตรงนี้ถึงกับทำให้หลายๆคนท้อไป จนเลิกเรียนฟิสิกส์เหมือนกัน ด้วยความคิดว่าตนเองเกิดมามีปัญญาไม่เท่าคนอื่นเขา)
ดังนั้น ช่วงนี้เราควรเริ่มต้นจากสิ่งที่เราอ่านรู้เรื่องก่อน สิ่งนั้นคงหนีไม่พ้นหนังสือภาษาไทย ไม่เพียงภาษาแต่ต้องเลือกเล่มที่อธิบายรู้เรื่อง อธิบายเป็นขั้นตอน เพื่อปลูกฝังการคิดที่เป็นระบบของเรา เมื่อเราอ่านทฤษฎีจบ เราควรเริ่มต้นฝึกฝนโจทย์ในระดับที่ค่อนข้างง่ายเสียก่อน (โจทย์ส่วนมากจะสอนเราเองว่า ที่เราเข้าใจมาน่ะถูกหรือไม่ บางคนอ่านแต่ทฤษฎีแล้วคิดว่าเข้าใจ นั่นอาจเป็นความคิดที่ไม่ดีนัก ผมเองก็เคยคิดมาก่อนด้วยความขี้เกียจ การฝึกฝนย่อมทำให้เราชำนาญมากขึ้น มีนักฟิสิกส์บางคนเคยกล่าวไว้ว่า "จงอย่าบอกว่าคุณเข้าใจฟิสิกส์ จนกว่าคุณจะทำมันได้" นี่คงเป็นสิ่งที่น่าเตือนใจเอาไว้ ควรค่าแก่การนำไปพิจารณาครับ)
ที่เหลือคือคนที่เริ่มระดับกลาง และระดับสูง คิดว่าถ้ามีเวลาอาจจะตอบให้ละกันครับ
โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ใช่คนที่เก่ง แต่คิดว่าสามารถแนะแนวทางให้ว่าควรจะเรียนอย่างไร ข้างต้นนั้นเป็นความเห็นของผมรวมกับสิ่งที่ผมได้เจอจากประสบการณ์ ทั้งคนที่เก่งๆ และคนที่เริ่มต้น ใครมีอะไรช่วยเสริม หรือคิดว่าความเห็นไม่ตรงกันเท่าไรนัก ก็เชิญแสดงความเห็นได้เลยครับ ยินดีรับไว้พิจารณา

เพื่อการพัฒนาที่สุดยอดครับ เพราะถ้าจะว่าไปแล้วตอนนี้หนังสือดีๆ ความรู้ดีๆคงหาได้ไม่ยากนัก แต่วิธีการปลูกฝังให้คนที่เริ่มต้นได้พัฒนาเป็นคนที่พยายามหาความรู้เหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง น่าจะดีครับ
