ปัญหา2ข้อนี้มีความสมมาตรกันสินะ
1.เวลาชาร์ตแบตน้อยกว่าเวลาที่สามารถการใช้งานได้
2.เวลาในการกินข้าวน้อยกว่าเวลาในการออกเรี่ยวแรง(ที่ได้จากการกิน)
ใช่แล้วๆ
แต่เปลี่ยนจาก "สมมาตร" (symmetric) เป็น "สมมูล" (equivalent) ดีมั้ยจ๊ะ
เอ หรือแบบนี้ก็ได้
แต่เราว่าใช้คำว่า "คล้ายๆ" เฉยๆ ดีกว่า หรือถ้าแบบจำเพาะหน่อยก็ "analogically similar"
ถ้าจะมองว่ากลไกการเก็บกับกลไกการปล่อยเป็นคนละเรื่องกันมันก็เข้าใจได้ง่ายดี
ในแง่ของการกินข้าว สามารถมองว่ากลไกการ
เก็บอาหาร (เก็บสารอาหารเข้าเซลล์) ยังคงไม่ถึงกับเป็นคนละเรื่องกับกลไกการ
ปล่อยสารอาหารเข้าสู่ขั้นตอนอะไรก็แล้วแต่ (ที่ค่อยๆ แปลงมันเป็นพลังงานออกมาช้าๆ) เนื่องจาก กลไกทั้งสองอย่างยังเป็น (active หรือไม่ก็ passive หรือทั้งสองอย่าง) transport เหมือนกัน
ในแง่ของการชาร์
จแบตต์ก็เช่นกัน กลไกการ
เก็บประจุ กับกลไกการ
ปล่อยประจุเข้าสู่วงจรอะไรก็แล้วแต่ ยังคงไม่ถึงกับเป็นคนละเรื่องกันไปเลย เพราะว่าเป็นกลไกเดียวกัน (ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี) ที่ดำเนินไปคนละทิศทาง
พูดง่ายๆเหมือนกับ การรับ และการเอาออกไปใช้ มันไม่ได้ผ่านทางท่อเดียวกัน
ใช่แล้วๆ

แต่ last จะพูดถึง "กลไกการเก็บกับกลไกการปล่อย" หรือ "การรับและการเอาออกไปใช้" กันแน่จ๊ะ อันนี้คนละเรื่องกันแน่นอน
ในแง่ของการกินข้าว การรับก็นับตั้งแต่กินเข้ามาไปจนถึงกำลังจะเข้าสู่ที่เก็บ (ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งการเคี้ยว การกลืน การย่อย ฯลฯ) และการเอาออกไปใช้ก็เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีอะไรก็แล้วแต่ที่เปลี่ยนให้สารประกอบเหล่านั้นเป็นพลังงาน
ในแง่ของการชาร์จแบตต์ การรับก็นับตั้งแต่การวิ่งเข้ามาตามสายไฟอะไรพวกนี้ไปจนถึงกำลังจะเข้าสู่กระบวนการเก็บ (ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกของหม้อแปลงเอย การเดินทางมาตามสายไฟเอย) และการเอาออกไปใช้ก็เกี่ยวข้องกับการควบคุมให้กระแสเดินทางไปตามวงจรไฟฟ้าในโทรศัพท์มือถือ
อย่างไรก็ดี แม้ "ขอบเขตของการสิ้นสุดการรับและการเริ่มต้นการเก็บ" และ "ขอบเขตของการสิ้นสุดการปล่อยและการเริ่มต้นการเอาออกไปใช้" นั้น ก็ดูคลุมเครือไม่สามารถกำหนดได้อย่างแน่ชัด แต่ "การรับและการเอาออกไปใช้" ก็ดูมีอะไรต้องพิจารณามากกว่า "กลไกการเก็บกับกลไกการปล่อยอยู่ดี" เราก็เลยคิดว่า มันคงจะบอกว่าเป็น "คนละเรื่องกันได้" อันชวนให้คิดว่า ประโยคนี้ของ last ต่อเนื่องมาจากประโยคก่อนหน้าอย่างไร ฮึฮึ
แต่ที่ว่า "ไม่ได้ผ่านทางท่อเดียวกัน" ก็เห็นด้วน เอ้ย เห็นด้วยนะ
แต่เราไม่ควรเอาปัญหาเหล่านี้มาผสมกันนะ....ว่าไหม
ทำไมล่ะ ลองบอกเหตุผลใหม่ซิ ไม่เอาแบบประโยคที่ตามหลังมาด้านล่างนี้นะ เพราะว่ายังไม่ชัดเจนในตัวเอง ไม่เชื่อลองอ่านดูสิ
ถ้าเราไม่แยกเรื่องคิดเราไม่อาจ (และไม่ควร) เหมาว่าปรากฏการณ์การไหลเข้ากับไหลออกต้องเป็นแบบนี้มันทั้งสกลโลกจักรวาล
ประโยคด้านบนนี้สมมูลกับ
"ถ้าเราเหมาว่าปรากฏการณ์การไหลเข้ากับไหลออกต้องเป็นแบบนี้มันทั้งสกลโลกจักรวาล แล้วเราต้องแยกเรื่องคิด"
แต่ last บอกว่า
"เราไม่ควรเหมาว่าปรากฏการณ์การไหลเข้ากับไหลออกต้องเป็นแบบนี้มันทั้งสกลโลกจักรวาล"
ก็แสดงว่า
"เราต้องแยกเรื่องคิด" หรือ "เราไม่ต้องแยกเรื่องคิด" ก็ได้สิ
เห็นมะว่าเหตุผลยังไม่รัดกุมพอ ว่าทำไมเราถึงต้องแยกเรื่องคิด
เพราะกลไกที่ว่ามันคนละอย่างคนละเรื่อง!!
ก็ไม่เชิงซะทีเดียวนะ เพราะอย่างน้อยก็มีกลไกหนึ่งในสกลจักรวาลนี้ ที่มีอะไรบางอย่างสัมพันธ์กันอยู่
ขณะที่ชาร์จแบตต์โทรศัพท์มือถือ หลักใหญ่ที่แบตเตอรี่อยู่ที่ ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีทั้งสิ้น รายละเอียดปลีกย่อยด้านต่างๆ ของปฏิกิริยาก็แตกต่างกันไปในแต่ละสารเคมีที่ใช้ แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น แต่หลักใหญ่ยังเหมือนเดิมคือ ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี ในขณะที่กำลังใช้มือถือนั้น หลักใหญ่ที่แบตเตอรี่ก็คือ ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเกิดในทิศทางตรงกันข้ามกับอันที่แล้ว
กลไกการเก็บไฟฟ้าเวลาชาร์ตมือถือ
ต่างจากกลไปการจ่ายไฟฟ้ามาใช้งานอย่างไร
ดังนั้น คำตอบของคำถามนี้คือ ทิศทางของปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี
แต่คำถามนี้ดูจะเป็นคนละคำถามกับคำถามที่ถามตอนแรกนะ ตอนแรกถามว่า
"ทำไมเวลาชาร์ตมือถือแป๊บเดียว....แต่ใช้โทรได้นานครับ"
ซึ่งคำตอบ last ก็รู้ไปแล้วแหละว่ามันเป็นเพราะว่า
"มันไม่ได้ผ่านทางท่อเดียวกัน"
เพราะการเอ่ยและตอบคำถามเรื่อง
"ทำไมกินข้าวสิบนาที บางทีอยู่ได้ทั้งวัน"
เป็นการพูดคนละเรื่องเดียวกันอย่างยิ่ง

เป็นการพูดเรื่องเดียวกันน่ะถูกแล้ว เพราะคำตอบคือ
"มันไม่ได้ผ่านทางท่อเดียวกัน" เหมือนกัน
เอ ถ้างั้นนี่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะต้องเปลี่ยนคำถามใหม่น่ะสิ

(ในรายละเอียดเราอาจพูดอะไรผิดไปบ้าง แต่ในแง่ตรรกะก็ประมาณนี้แหละ)
สำหรับคำตอบที่ละเอียดมากขึ้นสำหรับคำถามแรก เราไม่รู้อย่างชัดเจนนะ ต้องรอท่านอื่นมาตอบแล้วล่ะ ที่พอพูดได้ก็
ความแตกต่างด้านเวลาน่าจะเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่าง แต่ปัจจัยที่ contribute หลักๆ เราเดาว่าเป็น
ความแตกต่างของความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้าระหว่างการชาร์จและระหว่างการใช้ ตอนชาร์จอาจใช้ความต่างศักย์มากกว่าตอนใช้ ทำให้เวลาที่ใช้สั้นกว่ามาก... เราไม่รู้ว่าระหว่างการชาร์จกับการใช้มันต้องใช้ความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้าเท่ากันหรือเปล่า ถ้าไม่เท่าจริงเหตุผลนี้ก็คงจะใช่แหละ หรือไม่งั้นก็เป็น
ความแตกต่างระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีขาไปและขากลับไม่เท่ากัน โดยที่ขาที่ correspond กับตอนชาร์จนั้นสั้นกว่ามาก
คงเป็นข้อใดข้อหนึ่งแหละมั้งที่ใช่ หรืออาจถูกทั้งสองข้อก็ได้นะ
