ที่จริงแล้ว ระเบียบข้อข้างล่างนี้ก็น่าจะต้องระวังด้วย
ระเบียบของชีวะโอลิมปิก (IBO) ที่ว่าคือ:
2) Participation in the IBO is restricted to competitors who
- are students of a
regular secondary school for general
education belonging to a state or national educational system
(provided such a system exists in the country);
- are the winners of the national BO of the current school year in
their country;
นี่หมายความว่า โรงเรียนที่นักเรียนอยู่ต้องเป็นโรงเรียนมัธยมปลาย
ธรรมดา ไม่ใช่โรงเรียนพิเศษทางวิทยาศาสตร์ หรือเปล่า อย่างโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์นี่เป็นโรงเรียนธรรมดาหรือเปล่า ?


ซะงั้น
ถือว่าธรรมดาก้อแล้วกันนะ

ถ้าอย่างนั้น เดี๋ยวพรุ่งนี้บอกรัฐมนตรีให้จัดงบให้แบบโรงเรียนธรรมดาก็แล้วกันนะ

ซะงั้นน่ะครับ ท่านแอดมิน
ถ้าจะเทียบกันจริงๆแล้ว หนึ่งวันของแต่ละโรงเรียน ก็อาจจะไม่ได้มีคาบการเรียนการสอน และเวลาเท่ากันก็เป็นได้
เช่น
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล 1 วันมี 7 คาบวิชา (อันนี้คือตอนผมอยุ่ ป1-ป6 นะครับ ไม่ทราบว่าตอนนี้เปลี่ยนไปแล้วรึยัง)
โรงเรียนโยธินบูรณะ (ภาคธรรมดา) 1 วันมี 6 คาบวิชา
ถึงแม้ว่าโรงเรียนเซนต์คาเบรียลจะไม่ใช่โรงเรียนของรัฐบาล
แต่ก็น่าจะมีหลักสูตรตามกระทรวงศึกษาธิการ
หนึ่งคาบเรียนมีเวลา 55 นาทีเท่ากัน
ห่างกันหนึ่งคาบเรียนต่อวัน อาจจะดูไม่เยอะ
แต่ถ้าคำนวนหนึ่งสัปดาห์ จะเรียนต่างกัน 55 นาที x 5 วัน = 265 นาที
หนึ่งภาคเรียนมีราวๆ 20 สัปดาห์การศึกษา 265 นาที x 20 สัปดาห์การศึกษา = 5300 นาที
หนึ่งปีการศึกษา มี2ภาคเรียน 5300 นาที x 2 ภาคเรียนการศึกษา = 10600 นาที
หาร 60 ไป ได้เท่าไหร่ก็เป็นชั่วโมงเท่านั้น ...
ยังไม่นับรวมที่โยธิน ต้องตัดเวลา 10 นาทีต่อคาบเกือบครึ่งเทอมในเทอมสอง เนื่องจากกีฬาสี
อย่างนี้ก็ควรจะเรียกได้ว่าการเรียน 7 คาบต่อวัน เป็นหลักสูตรพิเศษนะครับ
เพราะอย่างนั้นแล้ว ผมจึงขอสรุปว่า มันไม่มีภาคการศึกษาแบบพิเศษหรือธรรมดาหรอกครับ เพราะว่ามันไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวแน่นอนว่าในหนึ่งวัน นักศึกษาต้องได้รับการศึกษากี่นาที จึงจะเป็นไปตามหลักของกระทรวงศึกษาธิการเค้า
ดังนั้น ...
เด็กมหิดลจึง สามารถสอบไบโอ โอลิมปิกได้ครับ เพราะว่ามันไม่มีคำว่าหลักสูตร"ทั่วไป"ของรัฐในประเทศไทย
จบครับ