Title: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: Peace on June 01, 2005, 08:12:40 PM ข้อ 10 ครับ
มวล m วิ่งเข้าชนสปริงที่ติดอยู่กับมวล m อีกก้อนอย่างยืดหยุ่น จงหาเวลาตั้งแต่เวลาที่ชนจนถึงเมื่อสปริงหดสั้นสุด ผมหาระยะหดสั้นสุดได้ ![]() แต่ไม่รู้จะหาเวลายังไงอะครับ แล้วผมลองมั่วๆดู ได้เวลา ![]() Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: ปิยพงษ์ - Head Admin on June 01, 2005, 08:18:12 PM แนะ: การเคลื่อนที่ตั้งแต่เริ่มชนไปจนกระทั่งอยู่ใกล้กันที่สุด (ที่จริงจนกระทั่งเริ่มหลุดออกจากกันด้วย) เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย ให้นึกภาพว่าวัตถุที่ชนติดกับปลายสปริงส่วนที่ชน
ลองทำดู ;) Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: Peace on June 01, 2005, 08:25:03 PM ต้องคิดเทียบกับจุด cm รึเปล่าครับ เพราะถ้าคิดเทียบ cm ผมจะได้
![]() แล้ว ![]() แล้วในกรณีนี้ผมแทน A เป็น ![]() แล้วจะหาคาบได้ ส่วนเวลาที่โจทย์ถามก็คือ ![]() Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: ปิยพงษ์ - Head Admin on June 02, 2005, 06:20:28 PM ลองทำแบบตรงไปตรงมาได้ไหม เลือกจุดอ้างอิงในกรอบเฉื่อยขึ้นมาเพื่อบอกตำแหน่งของวัตถุทั้งสอง สมมุติความยาวธรรมชาติของสปริงขึ้นมา พิจารณาที่เวลาใด ๆ เมื่อวัตถุอยู่ที่ตำแหน่ง ... เขียนสมการการเคลื่อนที่ของนิวตันสำหรับวัตถุทั้งสอง แล้วดัดแปลงสมการให้เขียนเทียบกับจุดศูนย์กลางมวล และเทียบกับอนุภาคหนึ่งที่เลือก จริง ๆ แล้วในแนวระดับไม่มีแรงภายนอกมาทำ มีแต่แรงภายในเท่านั้น นี่เป้นโจทย์รูปมาตรฐาน น่าจะคิดถึงการแก้ปัญหาโดยใช้มวลลดทอน
Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: Peace on June 02, 2005, 06:23:42 PM ใช้มวลลดทอนแล้วได้คำตอบเท่านี้ครับ แต่อยากรู้ว่าวิธีนี้ถูกรึเปล่าครับ หรือว่ามันมั่ว แล้วได้คำตอบตรงพอดี
Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: ปิยพงษ์ - Head Admin on June 02, 2005, 07:04:06 PM ใช้มวลลดทอนแล้วได้คำตอบเท่านี้ครับ แต่อยากรู้ว่าวิธีนี้ถูกรึเปล่าครับ หรือว่ามันมั่ว แล้วได้คำตอบตรงพอดี ถ้าอย่างนั้นก็ทำตรงไปตรงมาตามขั้นตอนที่บอก แล้วโพสต์ให้ดูหน่อย Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: Peace on June 02, 2005, 07:52:46 PM กรณีดังกล่าว มวลทั้งสองมีขนาดเท่ากัน ดังนั้น
![]() ผมมองว่ามันเป็นสปริงที่มีค่าคงที่ 2k 2 อันมาต่อกันที่ cm แล้ว cm ไม่มีความเร่ง ก็จะสามารถมองเป็นดังรูป แล้วก็จะหา ![]() คือ ![]() จะได้ ![]() Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: ปิยพงษ์ - Head Admin on June 02, 2005, 08:12:05 PM .. ผมมองว่ามันเป็นสปริงที่มีค่าคงที่ 2k 2 อันมาต่อกันที่ cm ลองทำแบบไม่มองเป็นสปริงต่อกัน จะได้เอาไปใช้กับกรณีอื่นทั่วไปที่ไม่มีสปริงได้ด้วย ... Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: Peace on June 02, 2005, 08:13:19 PM ถ้าไม่มีสปริง แล้วจะหาเวลาที่อะไรมันหดสั้นสุดล่ะครับ ???
Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: ปิยพงษ์ - Head Admin on June 03, 2005, 07:28:46 AM ถ้าไม่มีสปริง แล้วจะหาเวลาที่อะไรมันหดสั้นสุดล่ะครับ ??? 1. ให้ทำแบบไม่มองสปริงต่อกัน ไม่ได้หมายความว่าไม่มีสปริงในปัญหา 2. โจทย์นี้เป็นปัญหาการกระทำระหว่างวัตถุสองก้อนที่มีแรงสปริงเป็นแรงกระทำ มีปัญหาอื่น ๆ ที่เป็นระบบสองก้อนที่แรงเป็นแรงชนิดอื่น เช่น โลกกับดวงจันทร์ ดาวเทียมโคจรรอบดาว (แรงโน้มถ่วง) การกระเจิงของอนุภาคแอลฟาจากนิวเคลียส (การกระเจิงของรัทเทอร์ฟอร์ด แรงไฟฟ้า) 3. เวลาแก้ปัญหา พยายามมองให้เห็นความทั่วไปในปัญหาเฉพาะ ......... ;D Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: Peace on June 03, 2005, 08:50:50 PM เอ่อ ยังงี้รึเปล่าครับ ผมเริ่มสับสนกับชีวิต
สมมติก้อนซ้ายเป็น A ขวาเป็น B ![]() แล้วหา v ของ A และ B ที่เวลา t ใดๆ จะได้ ![]() ![]() ถ้าคิดเทียบ cm จะได้ ![]() ![]() ดังนั้นอัตราการหดของสปริง ![]() ![]() แล้วดิฟทั้งสองข้างกลายเป็น ![]() ![]() Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: ปิยพงษ์ - Head Admin on June 04, 2005, 11:32:47 AM ระบบวัตถุสองชิ้น
ให้ A และ B เป็นวัตถุสองก้อนนั้น และให้ ![]() ในกรณีที่ไม่มีแรงภายนอกกระทำ สมการการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งสองคือ ![]() ![]() เอามวลของแต่ละก้อนหารสมการแต่ละสมการตลอด เอาสมการที่ได้ลบกัน และใช้ความจริงที่ว่าแรงที่ A ทำ B เป็นลบของแรงที่ B ทำ A เราจะได้ว่า ![]() ให้ ![]() ![]() ![]() ![]() นี่เหมือนกับสมการของระบบอนุภาคเดียว เอาสมการสุดท้ายนี้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาของเราในหนึ่งมิติ ระยะยืดของสปริงจากความยาวธรรมชาติคือ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() นี่เป็นสมการการเคลื่อนแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย Title: Re: ข้อสอบสสวทรอบ 1 ปี 2547 Post by: Peace on June 04, 2005, 02:52:00 PM เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณครับ :D
|