Title: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: pl290938 on October 31, 2011, 06:20:58 PM อยากทราบว่าการกลิ้งแบบไม่ไถลมันจะมี่การหมุนหรือเปล่าครับระหว่างการไถล ที่ผมเข้าใจคือแต่ละจุดบนวงกลมจะค่อยๆหมุน และที่จุดสัมผัสของวงกลมจะไถลไประยะหนึ่งแล้วก้หมุนไปด้วยทำให้จุดใหม่มาไถลต่อไป ตามรูปก็คือจุด Aจะไถลก่อนแล้ววัตถุจะค่อยๆหมุนไปจนวัตถุ B มาไถลต่อไป
ตามที่ผมคิดถูกต้องหรือไม่อย่างไรครับ Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: B.J. on October 31, 2011, 08:13:51 PM ถ้ากลิ้งแบบไถล หมายถึง จุดบนวงกลมที่สัมผัสกับพื้น มี ความเร็ว เทียบพื้น มากกว่าพื้น เหมือนกับในรูป จุด A จะมีความเร็วเทียบพื้นไปทางขวาเป็น ซึ่งมากกว่า 0 แต่ผมไม่แน่ใจว่า มันจะไถลก่อน แล้วค่อยหมุนหรือเปล่า
แต่ในความคิดของผม ผมคิดว่า มันจะไถล ไปพร้อมๆกับหมุนครับ :) Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: pl290938 on October 31, 2011, 08:33:08 PM ... จุด A จะมีความเร็วเทียบพื้นไปทางขวาเป็น ... ไม่ใช่ไปทางซ้ายหรือครับ? :idiot2:Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: B.J. on October 31, 2011, 11:26:44 PM ... จุด A จะมีความเร็วเทียบพื้นไปทางขวาเป็น ... ไม่ใช่ไปทางซ้ายหรือครับ? :idiot2:คิดว่าทางขวานะครับ เพราะ ว่า วงกลมมันไถลไปทางขวาด้วย ถ้าสมมติว่า A มีความเร็วไปทางซ้ายเทียบพื้น มันจะไถลน้อยมากก อาจจะไม่ไถลเลยก็ได้นะครับ นั่นคือกลิ้งโดยไม่ไถล (ลองนึกภาพนะครับ) ป.ล. ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจครับ :P Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: ปิยพงษ์ - Head Admin on October 31, 2011, 11:39:11 PM กลิ้งโดยไม่ไถลแปลว่าจุด A ที่สัมผัสพื้นมีความเร็วเท่ากับพื้น (ศูนย์ ในที่นี้) ชั่วขณะ :coolsmiley:
Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: B.J. on October 31, 2011, 11:40:07 PM กลิ้งโดยไม่ไถลแปลว่าจุด A ที่สัมผัสพื้นมีความเร็วเท่ากับพื้น (ศูนย์ ในที่นี้) ชั่วขณะ :coolsmiley: งั้น ถ้า A มีความเร็วเทียบพื้นไปทางซ้ายล่ะครับ จะเกิดเหตุการณ์อย่างไรหรือครับ ???Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: ปิยพงษ์ - Head Admin on October 31, 2011, 11:41:40 PM กลิ้งโดยไม่ไถลแปลว่าจุด A ที่สัมผัสพื้นมีความเร็วเท่ากับพื้น (ศูนย์ ในที่นี้) ชั่วขณะ :coolsmiley: งั้น ถ้า A มีความเร็วเทียบพื้นไปทางซ้ายล่ะครับ จะเกิดเหตุการณ์อย่างไรหรือครับ ???ก็แปลว่ามันไถลไปบนพื้น ไม่ไถลแปลว่าจุดสัมผัสของผิวสองผิวมีความเร็วเท่ากัน !! Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: B.J. on October 31, 2011, 11:43:33 PM กลิ้งโดยไม่ไถลแปลว่าจุด A ที่สัมผัสพื้นมีความเร็วเท่ากับพื้น (ศูนย์ ในที่นี้) ชั่วขณะ :coolsmiley: งั้น ถ้า A มีความเร็วเทียบพื้นไปทางซ้ายล่ะครับ จะเกิดเหตุการณ์อย่างไรหรือครับ ???ก็แปลว่ามันไถลไปบนพื้น ไม่ไถลแปลว่าจุดสัมผัสของผิวสองผิวมีความเร็วเท่ากัน !! ไถลไปทางซ้ายหรือเปล่าครับ Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: B.J. on October 31, 2011, 11:51:38 PM คือสงสัยครับว่าถ้ามีกรณีอย่างนี้
1. ![]() 2. ![]() Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: ปิยพงษ์ - Head Admin on November 01, 2011, 06:29:59 AM คือสงสัยครับว่าถ้ามีกรณีอย่างนี้ 1. ![]() 2. ![]() ทั้งสองกรณี กลิ้งและเลื่อนตำแหน่งพร้อมกัน กรณี 1. เป็นอย่างที่ยกตัวอย่างมา หรือ กรณีล้อเครื่องบินที่เพิ่งบินลงแตะพื้น กรณี 2. ขยับด้วย ล้อหมุนติ้ว แต่รถขยับไปข้างหน้านิดเดียว Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: B.J. on November 01, 2011, 07:08:03 AM ขอบคุณครับ :)
Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: pl290938 on November 01, 2011, 04:42:29 PM อยากทราบว่า ทำไม ระยะทางจริงที่จุดสัมผัสของวัตถุไถล
![]() Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: Chukiat Tantiwong on November 01, 2011, 05:16:22 PM อยากทราบว่า ทำไม ระยะทางจริงที่จุดสัมผัสของวัตถุไถล ![]() ระยะทางจริงที่จุดสัมผัสของวัตถุไถล คือระยะทางที่ล้อได้ไถพื้น (เสียดทานกับพื้น) ครับ ระยะทางส่วนนี้ทำให้แรงเสียดทานทำงาน และชะลอวัตถุให้ไถพื้นช้าลงจนกระทั่งไม่มีการไถล , ส่วนระยะทางที่วัตถุเคลื่อนไปได้คือระยะทางเทียบกับกรอบอ้างอิงเฉื่อยหนึ่ง ในกรณีที่ไม่มีการไถล ระยะทางที่จุดสัมผัสไถลจะเป็นศูนย์ครับ :laugh: Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: pl290938 on November 01, 2011, 08:02:07 PM แล้วล้อมันไม่ได้ไถลพื้นตลอดเวลาหรอกหรือครับ? :uglystupid2:
Title: Re: กลิ้งแบบไถล(อีกครั้ง) Post by: Chukiat Tantiwong on November 02, 2011, 12:16:28 AM แล้วล้อมันไม่ได้ไถลพื้นตลอดเวลาหรอกหรือครับ? :uglystupid2: เวลาล้อมันกลิ้งแบบไม่ไถล ณ ขณะเวลาหนึ่ง จุดบนล้อที่สัมผัสกับพื้นมีแค่จุดเดียวครับ แล้วจุดนั้นจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆหากล้อหมุนไป ดังนั้นเราจะถือว่าไม่มีจุดใดบนล้อที่ไถลพื้นครับ ในกรณีนี้ไม่มีการไถลสัมพัทธ์ และไม่สูญเสียงานให้แรงเสียดทาน , ส่วนกรณีที่ล้อมีการไถลพื้น จุดสัมผัสที่ว่าจะต้องขูดพื้นไป โดยระยะทางที่แกนของล้อเคลื่อนไปไม่เท่ากับระยะทางเชิงมุมคูณกับรัศมีล้อครับ ผลต่างระยะทางนั้นเอง เป็นระยะทางที่ผิวล้อไถลพื้นไปจริงๆ เรานำระยะทางส่วนนี้มาคิดงานที่สูญเสียให้แรงเสียดทานได้ครับ :) |