ปรมาจารย์ด้านฟิสิกส์ทฤษฎีอีกคนหนึ่งที่อยากจะเอามาเล่าให้ฟัง Abdus Salam
Abdus Salam ( 29 มกราคม, 1926 – 21 November, 1996) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวปากีสถาน เกิดที่เมืองเล็กๆในชนบทชื่อเมือง Jhang แคว้น Panjab
ประเทศ ปากีสถาน
ซาลามเป็นอีกหนึ่งมหาเทพที่เข้ามาทำงานในด้านฟิสิกส์ เมื่ออายุ 14 ปี เขาสอบได้คะแนนสูงสุดของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย Punjab University ซึ่งทำให้เขาได้ทุนไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่ Government College University เมือง Lahore ของปากีสถาน

ซาลามมีความสามารถรอบด้านจริงๆ ทั้งในด้านภาษาและคณิตศาสตร์ (ขนาดที่ว่า tutor ของเขาที่มหาวิทยาลัย อยากให้เขาไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ

)เขาเรียนจบตอนปี 1944 (อายุ 18 ปี

) โดยโครงงานที่นำเสนอเพื่อจบปริญญตรีของเขา เป็นปัญหาคณิตศาสตร์ของรามานุจันทร์ (ไม่รู้เหมือนกันว่าปัญหาอะไร) หลังจากนั้นเขาเข้าเรียนปริญญาโททีมหาลัยเดิม และเรียนจบภายในสองปี (ตามเวลามาตรฐาน)
ในปีเดียวกันนี้ ซาลามได้ทุนไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี ที่ St. John College, Cambridge ซึ่งเขาเรียนจบมาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 ของทั้งวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ (Double First-Class Honours) ซาลามเรียนต่อโทและเอกที่เคมบริจด์ โดยทำงานวิจัยในด้าน Quantum Electrodynamics (QED) ด้วยความเทพของซาลาม ทำให้เขากลายเป็นที่จับตามองของยักษ์ใหญ่หลายๆคนอย่าง Dirac, Bethe หรือ Oppenheimer

เมื่อจบปริญาเอกในปี 1951 ซาลามเดินทางกลับไปยัง Government College University เขาประสบปัญญาหลายอย่าง ทั้งปัญหาความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน ( การเมืองในมหาวิทยาลัย ) ทำให้เขาไม่สามารถทำงานวิจัยต่อได้ รวมทั้งเมื่อเขาพยายามจะใส่ Quantum physics เข้าไปในหลักสูตรปริญญาตรี ก็โดนขัดขวาง ทำให้เขาต้องสอนวิชานี้ตอนเย็นหลักเวลาเรียนปกติ...

หลักเกิดการจลาจลที่เมือง Lahore ในปี 1953 ซาลามจึงตัดสินใจกลับไปยัง St. John College และทำงานอยู่ในตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์
ในปี 1957 เขาย้ายไปเป็น หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ทฤษฎี ที่ Imperial College London งานวิจัยของ Salam ยังคงเป็นในเรื่องของฟิสิกส์พลังงานสูงซึ่งต่อ
ยอดมาจาก QED ขณะที่อยู่ที่เคมบริจและอิมพีเรียล ซาลาม กับ จอห์น วาร์ด (John Clive Ward ซึ่งหลายคนอาจจะเคยเห็นชื่อเขาในเรื่อง Ward Identity) ทำวิจัยในเรื่องของ Gauge theory, Symmetry และที่สำคัญมากคือ การพยามรวมแรงแม่เหล็กไฟฟ้าและแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อนเข้าด้วยกัน
(Electroweak unification) ในช่วงนี้ ซาลามได้ร่วมงานกับนักฟิสิกส์สำคัญๆหลายๆคน และสร้างผลงานที่โดดเด่นๆยกอย่างเช่น
- กับ Sheldon Glasshow, Jeffrey Goldstone ในการสร้าง mathematical proof ให้กับ Nambu-Goldstone theorem ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับ Spontaneous symmetry breaking ของ Global continuous symmetry ( Nambu หรือ โยอิจิโร่ นัมบุ เป็นนักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ที่เพิ่งจะได้รับรางวัลโนเบลไปในปี 2008 ตอนอายุ 90 แล้วเราจะเล่าถึงนัมบุ อีกเร็วๆนี้)
- กับ Steven Weinberg (จำได้รึเปล่า

) ในการใช้ Higgs mechanism ในการอธิบาย electroweak symmetry breaking
และที่สำคัญที่สุดซึ่งจะขาดไม่ได้เลย คืองานของ Glasshow, Salam และ Weinberg ซึ่งสามารถรวมแรงแม่เหล็กไฟฟ้าและแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อนเข้าด้วยกันได้ ทำให้ทฤษฎี Standard Model ซึ่งสามารถรวมแรง พื้นฐานสามแรงเข้าไว้ด้วยกัน (ยังรวมแรงโน้มถ่วงเข้าไปด้วยไม่ได้และปัจจุบันก็ยังทำไม่ได้)
ซึ่ง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทั้งสามคนได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกัน ในปี 1979
หลังจากที่แสดงผลงานและความสามารถให้โลกรู้ จนแทบจะทุกคนในวงการรู้จักเขาแล้ว ซาลามเดินทางกลับมายังปากีสถาน และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในด้านการบริหารการศึกษาและการวิจัย ภายใต้การนำของซาลาม เรียกได้ว่าวงการฟิสิกส์ของปากีสถานได้เติบโตจากจุดที่ไม่มีใครรู้จัก กลายเป็นประเทศที่สามารถผลิตผลงานวิจัยได้ในระดับแนวหน้าได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว
อันที่จริงแล้ว ผลงานของซาลามยังมีอีกเยอะมากๆๆ แต่สิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งที่อยากให้รู้คือ ซาลามได้อุทิศตัวเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาของวงการฟิสิกส์ในประเทศโลกที่สาม ( น่าจะนับรวมประเทศสารขัณฑ์ของเราไปด้วย ) ซึ่งขาดแคลนทั้งในเรื่องบุคลากรและงบประมาณในวิจัย
โดยเขาได้ก่อตั้งสถาบันการวิจัยระหว่างประเทศหลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือ International Centre for Theoretical Physics (ICTP)ที่เมือง Trieste ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของอิตาลีซึ่งเป็นที่ๆเปิดโอกาสให้นักวิจัยจากประเทศกำลังพัฒนาได้รับทุนมาทำงานวิจัยกับนักวิจัยระดับแนวหน้า( ที่ ICTP)
เพื่อจุดประกายและเติมไฟในการทำงานของนักวิจัยเหล่านี้ ซึ่งส่วนมากมักจะต้องทำงานอย่างโดดเดี่ยวและไม่เป็นที่รู้จัก
ให้มีกำลังใจในการทำงานวิจัยต่อไป
ในบั้นปลายชีวิต ซาลามป่วยเป็นโรคพากินสัน เขาเสียชีิวิตอย่างสงบที่ Oxford ประเทศอังกฤษตอนปี 1996 ศพของเขาได้นำกลับไปฝังไว้ที่ปากีสถาน

หลังซาลามเสียชีวิต สถาบัน ICTP ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Abdus Salam International Centre for Theoretical Physics
เพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ไม่เพียงแค่ในด้านผลงานทางฟิสิกส์เท่านั้น
ซาลามเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมสำหรับนักฟิสิกส์จากประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเราคนไทย

ผมหวังว่าบทความนี้จะทำให้คนที่อ่านรู้จักนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่คนนี้มากขึ้น แล้วก็หวังอีกด้วยว่า...
ซักวันประเทศไทย จะมีคนแบบซาลามบ้างซักคน

*คลิปวีดีโออันหนึ่งที่ไปเจอใน youtube เกี่ยวกับ ซาลาม
http://www.youtube.com/watch?v=bdBboiCsasI ที่มา : wikipedia และ วิชาการดอทคอม